Site icon Thumbsup

เปิดข้อมูล Social Media วงการอสังหาริมทรัพย์ พบคนไทย “เครียด” เมื่อคิดเรื่องซื้อบ้าน

มีการเปิดเผยสถิติหลาย ๆ ชิ้นที่น่าสนใจจาก Thoth Zocial บริษัทผู้ให้บริการข้อมูล Social Media ของไทย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น เรามีการพูดกันบน Social Media ทั้งสิ้น 2.5 พันล้านครั้ง หรือเฉลี่ยเท่ากับ 82 ครั้งใน 1 วินาที ประเทศไทยมีการใช้งาน Facebook มากเป็นอันดับ 9 ของโลก และเมืองที่มีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดในโลกก็คือกรุงเทพฯ (30 ล้านคน) แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ เรื่องของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่ Thoth Zocial พบว่า มีการใช้งาน Social Media เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นั่นทำให้ทาง Thoth Zocial มองว่า ข้อมูลจาก Social Media ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยเหล่านี้ กำลังจะกลายเป็นข้อมูลที่มีมูลค่า และควรค่าที่แบรนด์ต่าง ๆ จะต้องให้ความใส่ใจมากขึ้นแล้ว อีกทั้งข้อมูลจาก Social Media กำลังทำให้หลาย ๆ แบรนด์ได้เข้าถึงข้อมูลชนิดใหม่ ๆ ของลูกค้าได้มากขึ้นอย่างที่สื่อดั้งเดิมอาจไม่เคยทำได้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้าน Personality, การให้คุณค่า (Values), ทัศนคติ (Attitudes), ความสนใจ (Interest) และไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่แบรนด์สามารถนำไปสร้างการตัดสินใจซื้อได้อย่างตรงใจนั่นเองที่ข้อมูล Demographics เดิมไม่สามารถให้ได้มาก่อน

คุณกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานกรรมการบริหารบริษัท Thoth Zocial เผยว่า พื้นที่บน Social Media ทุกวันนี้เปิดโอกาสให้เราได้ “เล่น” มากกว่าเดิม 

“ปกติเวลาเราพูดถึงผู้บริโภค โดยทั่ว ๆ ไป เรามักพูดถึงเรื่องของ Demographic เช่น เวลาออกแบบบ้านว่าเหมาะกับคนกลุ่มไหนก็อาจจะบอกว่า บ้านสำหรับคนเพิ่งแต่งงาน คนเพิ่งมีลูก ฯลฯ แต่พอมาอยู่บน Social Media ข้อมูล Demographics เหล่านั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องอีกต่อไป เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะใส่อายุจริงบน Facebook บางคนปกปิดที่ทำงาน ฯลฯ”

ถ้าเช่นนั้น เราจะเข้าใจพฤติกรรมของคนบนโลก Social Media ได้อย่างไร คุณกล้าเผยว่า หนึ่งในรูปแบบที่เราสามารถเข้าใจพวกเขาได้นั้นมาจากกิจกรรมเช่น Like, Comment, Share หรือการโพสต์ นั่นเอง อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2017 การทำกิจกรรมบน Social Media ของหมวดอสังหาริมทรัพย์นั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ทำคะแนนได้ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับภาพรวมของทุกหมวดอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากอสังหาริมทรัพย์แล้ว กลุ่มของ Banking และ Insurance ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้เช่นกันด้วย

แม้หมวดอสังหาริมทรัพย์ในภาพรวมจะดูน่ากังวล แต่เมื่อเจาะลงไปในแต่ละแบรนด์แล้ว Thoth Zocial พบว่า ก็มีผู้เล่นหลายรายเลยทีเดียวที่ประคองตัวได้ในเกณฑ์ดี เช่น SC Asset, Property Perfect และ Major Develop ที่ติดสามอันดับแรกของแบรนด์ที่ได้รับ Engagement สูงสุดจาก Facebook ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนจะตามมาด้วย Q.House, Areeya Home, Land and House, Supalai, Sansiri และ AP Thai

ข้อมูลจาก Thoth Zocial ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า

ส่วนชาร์ตด้านล่างนี้ของ Thoth Zocial ทำออกมาเพื่อชี้ว่า ช่วงเวลาใดของ Facebook ที่ผู้บริโภคเข้ามา Engage กับแบรนด์ด้านอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างสูง ซึ่งหากพิจารณาจะพบได้ 2 – 3 ช่วงเวลา โดยหลัก ๆ คือช่วง 20.00 น.ของวันทำงาน รองลงมาคือช่วง 10.00 น. และช่วง 14.00 – 15.00 น. ของวันทำงาน ส่วนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ พบว่าค่อนข้างเบาบางมากนั่นเอง

ส่วนข้อมูลพื้นฐานเช่น เพศ นั้น พบว่า ผู้บริโภคบน Facebook ที่สนใจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้หญิง 54% ผู้ชาย 46%  ช่วงอายุของผู้ชายและผู้หญิงที่สนใจสูงที่สุดคือ 25 – 34 ปี

ส่วนบน Twitter และ Instagram ผลออกมาเป็นดังนี้

จะสังเกตว่า ภาพของ Instagram และ Facebook นั้นค่อนข้างคล้ายคลึงกันมากทีเดียว

ส่วนแพลตฟอร์มที่สำคัญไม่แพ้กัน ในฐานะ Social Media สำหรับคนไทยอย่าง Pantip ข้อมูลของ Thoth Zocial พบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดังนี้

หันมามองข้อมูลอื่น ๆ กันบ้าง Thoth Zocial พบว่า

แต่ที่น่าสนใจที่สุดอาจเป็นเรื่องที่ Thoth Zocial พบว่าคนไทย “เครียด” กับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ชิ้นนี้ถึง 52.4%

จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา Thoth Zocial ได้ฝากคำแนะนำถึงแบรนด์ในวงการอสังหาริมทรัพย์ ในฐานะ Developer  ว่า “สิ่งที่แบรนด์ควรทำคือการดู Journey ของผู้บริโภคให้ครบ และควรจะคิดถึงทุกชีวิตที่อยู่ในโครงการ ไม่ว่าจะส่งมอบแล้วหรือยังไม่ส่งมอบ เพราะพฤติกรรมคนซื้อนั้น ซื้อเพราะเชื่อมั่นในแบรนด์ เวลาบ้านมีปัญหา เขาไม่ได้ตำหนินิติโครงการฯ แต่เขาตำหนิแบรนด์ ดังนั้น แบรนด์ต้องมองให้ครบ อย่าให้ได้ชื่อว่าเป็นโครงการที่ไม่ดูแลลูกบ้าน” 

ส่วนข้อมูล Social Media นั้นอาจถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการชี้ทาง เพื่อให้วงการอสังหาริมทรัพย์ใช้ข้อมูลตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้ดีมากขึ้น ซึ่งคุณกล้าเผยถึงโพสิชันของ Thoth Zocial ว่าอยู่ในฐานะของผู้ให้คำแนะนำ หรือโค้ชนั่นเอง

“ถ้าเปรียบเทียบกับเกมการแข่งขัน เราอาจไม่ได้เป็นผู้เล่นที่เก่งเหมือนนักกีฬา แต่เรามีข้อมูลที่จะบอกว่านักกีฬาต้องทำอย่างไร เพื่อให้นักกีฬาเล่นได้ดีขึ้นกว่าเดิมครับ”