Site icon Thumbsup

ส่องเทรนด์ Social 2018 ช่วงครึ่งปีแรก

ผ่านมาครึ่งปีแล้วสำหรับการใช้งานโซเชียลมีเดียในประเทศไทย โดยทาง Wisesight ได้สรุปเทรนด์ต่างๆ ในช่วงครึ่งปีแรกมาให้ผู้อ่านชาว Thumbsup ได้ทราบกัน

Facebook

จากการเก็บข้อมูลของแบรนด์อย่างเป็นทางการกว่า 761 แบรนด์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2018 พบว่า

ทางด้านของท็อปแบรนด์ที่มีการติดตามและเข้าถึงเยอะสุด มีดังนี้

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่ได้ Engagement เยอะที่สุดคือกลุ่มดิจิทัลทีวี ถือว่าเป็นการปรับตัวในการเข้าถึงผู้ชมที่ไม่ได้จำกัดแค่บนทีวีอีกต่อไป โดยสัดส่วนของอุตสาหกรรมที่มีการโพสต์มากที่สุดคือ ดิจิทัลทีวี 25.87% ตามมาด้วยกลุ่มหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 10.51% เครื่องสำอางค์ 7.25% ตามมาด้วยสถาบันเสริมความงาม ห้างสรรพสินค้าและสินค้าอิเลคทรอนิคส์ ตามลำดับ

สำหรับสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทีวีที่มี Engagement ด้วยแบรนด์มากที่สุด 3 อันดับ คือ

Instagram-Twitter

ทางด้านของ Instagram จากการรวบรวมข้อมูลของเพจต่างๆ กว่า 332 แบรนด์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2018 พบว่า

แน่นอนว่าอุตสาหกรรมที่โพสต์เยอะที่สุด ยังคงเป็น

อุตสาหกรรมที่ Engagement เยอะสุดยังคงเป็น Digital TV, Cosmetic และรัฐวิสาหกิจ ส่วนอุตสาหกรรมที่มี Engagement per post เยอะที่สุด คือ รัฐวิสาหกิจ 1,234 โพสต์ รองลงมา คือ Digital TV 1,022 โพสต์และสายการบิน 984 โพสต์ ตามลำดับ

ทางด้านของ Twitter จากการรวบรวมข้อมูลของเพจต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2018 พบว่า กลุ่มดิจิทัลทีวียังทวีตเยอะสุดถึง 126,089 โพสต์ ตามมาด้วยกลุ่มรัฐวิสหากิจ 14,066 โพสต์และอสังหาริมทรัพย์ 2,670 โพสต์

ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการ Retweet เยอะที่สุด คือ ร้านค้าปลีก 413 ครั้ง, เทเลคอม 396 ครั้งและ ประกันชีวิต 329 ครั้ง และแน่นอนว่า บุพเพสันนิวาส ยังคงครองสถิติการติดตามมากที่สุดทุกช่องทาง

บุพเพสันนิวาสยังครองทุกโซเชียล

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ จำกัด กล่าวว่า ประเทศเวียดนามมีการเติบโตของโซเชียลมีเดียสูงมากกว่าบ้านเรา อาจเพราะจำนวนของประชากร ที่มีเยอะกว่า ทำให้ความน่าสนใจของข้อมูลในตลาดต่างประเทศต้องมีความชัดและลึกมากพอ เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจไปยัง APAC มีข้อมูลเพียงพอต่อการทำตลาดได้อย่างมั่นคง อย่างเช่น อินโดนีเซีย เมียนมาร์และกัมพูชา มีการเติบโตของ Instagram ไม่แพ้ไทยเลย อาจเพราะประชากรของทั้งสองประเทศคุ้นเคยกับเครื่องมือเหล่านี้ตามการใช้งานของคนไทย ทำให้ทิศทางการเติบโตเป็นไปในแบบเดียวกัน

ทางด้าน สุพลชัย กีรติขจร อดีตทีมงานของ Facebook ประเทศไทยที่ได้ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำเทคนิคและเครื่องมือต่างๆ ของสถาบัน BINARY ได้มองการใช้งานเครื่องมือ Facebook ของภาคธุรกิจว่า ตอนนี้ที่น่าเป็นห่วงคือธุรกิจรายย่อยที่ลง Facebook Ad ทำกันผิดวิธี ที่จริงแล้วยังวิธีอีกมากที่ช่วยเจาะลึกการเข้าถึงลูกค้าได้ตรงเป้าหมาย ซึ่งการกด Boost Post เพียงอย่างเดียวอาจส่งผลให้ SME แบกรับต้นทุนไม่ไหว

ดังนั้น การเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ และปรับตัวไปใช้โซเชียลมีเดียอื่นๆ ในการโฆษณาจะช่วยเพิ่มโอกาสที่ดีมากกว่า แต่ทั้งหมดนั้นก็ต้องอยู่ที่คอนเทนต์ที่จะส่งไปหาลูกค้าด้วย เช่น Twitter จะต้องทำคอนเทนต์ให้เป็นกระแสหรือตามกระแสแฮชแท็ก จะช่วยให้มีการรีทวิตเร็วขึ้น

นอกจากนี้ หากนักการตลาดเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียได้ดี จะทำให้เข้าใจบริบทและนำเสนอได้ตรงจุดมากกว่า เช่น หากส่งสารให้ผู้เล่นทวิตเตอร์จะต้องเกาะกระแสให้คนอยากรีทวิตต่อ

อย่าง Facebook นั้น Mark Zuckerberg เคยบอกไว้ว่าจะเน้นการทำโซเชียลให้เป็น VDO มากขึ้น เพื่อเพิ่มความสนุกในการส่งต่อ ดังนั้น นักการตลาดต้องทำคอนเทนต์ให้ถูกจุด สนุกและตรงกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการสื่อด้วย

“การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าจะต้องสร้างคอนเทนต์ให้สนุกบนเฟสบุค ส่วนทวิตเตอร์ต้องคุยให้เป็นเทรนด์และอินสตาแกรม ก็ต้องคุยด้วยภาพแบบ Photo Marketing หากแบรนด์เข้าใจเรื่องเหล่านี้และส่งต่อไปให้ถูกจุดย่อมเกิดแน่นอน”

เทรนด์หลายอย่างในโซเชียลก็ยังคงมุ่งเป้าไปที่ 3 แพลตฟอร์มหลักเช่นเดิมนะคะ แต่จะเห็นได้ว่ามีการเติบโตจากการใช้งานสลับกันไปมาตามกระแสต่างๆ หากนักการตลาดหรือแบรนด์รายย่อยสามารถทำคอนเทนต์ได้ตรงจุดหรือเก่าได้ถูกที่ ย่อมมีโอกาสเกิดในกลุ่มผู้ใช้งานบ่อยๆ ได้แน่นอนค่ะ