Site icon Thumbsup

ข้อคิดดีๆ จาก 6 กุนซือองค์กรดัง เพื่อให้ “โตแบบยกกำลัง”

 SINGULARITY UNIVERSITY ชุมชนการเรียนรู้ทางด้านนวัตกรรมระดับโลกซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีผลกระทบอย่างก้าวกระโดด เพื่อรับมือกับปัญหาและความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และเพื่อสร้างอนาคตอันอุดมสมบูรณ์สำหรับมนุษย์ทุกคน ได้ส่งบทความที่น่าสนใจเรื่องนี้มาให้ชาว Thumbsup ได้อ่านกันค่ะ

การเติบโตทางเทคโนโลยีในแง่มุมต่างๆ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานั้น เกินกว่าคำว่ารวดเร็วเป็นอย่างมาก จากอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเชิงพาณิชย์ และการเข้าแข่งขันของผู้เล่นในตลาด ล้วนทำให้เทคโนโลยีเข้าสู่ชีวิตประจำวันของคนทั่วไปได้ง่ายขึ้น ว่องไวขึ้น ในราคาที่เอื้อมถึงได้ง่ายขึ้น สิ่งที่เราเคยเห็นแต่ในภาพยนตร์ไซไฟ เช่น AI เทคโนโลยีโลกเสมือน (AR และ VR) จึงกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่ในโลกที่กำลังวิ่งเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงนี้ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาครัฐต่างๆ จะต้องเตรียมรับมืออย่างไร จึงจะโตเกินไวทันเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดนี้

เทคโนโลยีไม่มีเจ้าของ” (Technology serves all humans)

จุดประสงค์ของเทคโนโลยีคือการเกิดมาไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใด แต่เพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ทุกคน”  นาย ชานนท์ เรืองกฤตยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) กล่าวการพัฒนาและการเข้าถึงของเทคโนโลยี หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอุปสงค์อุปทานที่เปลี่ยนไป และความต้องการที่เปลี่ยนไปนี้เอง ที่ทำให้ธุรกิจต่างๆ ไม่อาจอยู่นิ่งตามโมเดลเดิมของตนเองได้อีกต่อไปแล้ว สำหรับจุดแข็งของภูมิภาคเรา อาจไม่ใช่เทคโนโลยีที่พัฒนาด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สุด แต่เป็นการปรับใช้สิ่งที่มีให้กลายเป็นโซลูชั่นที่แก้ปัญหาตามนัยยะของแต่ละพื้นที่และวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และสามารถขยายผลไปสูการพัฒนาในตลาดนานาชาติได้” 

แปลงร่าง สร้างผลงาน” (Perform and transform)

จะตามเทคโนโลยีให้ทัน ภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงตนเองไปพร้อมๆ กันกับการสร้างผลงานให้ได้  สำหรับอุตสาหกรรมที่กำลังก้าวสู่ยุคใหม่อย่างธนาคาร นายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ บริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงการปรับตัวขององค์กรในก้าวสำคัญของวงการคุณไม่สามารถทำงานแบบเดิมได้อีกแล้ว ความคล่องตัว (Agility) ความเข้าใจและความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) และความรู้เรื่องระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้คุณอยู่ได้ เพราะไม่ว่าคุณจะเคยแข็งแกร่งแค่ไหน หากปรับตัวไม่ได้คุณก็จะหายไป

จับมือไว้ โตไปด้วยกัน” (Kayaking through hyper-connected world)

เหมือนคุณจ้ำเรือคายัคในกระแสน้ำเชี่ยว ถ้าคุณไม่ระวัง เรือคุณก็จะคว่ำ” ดร. แจนสัน แยป ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงระดับโลก และประธานฝ่าย Innovation Practice จาก ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงการอยู่รอดของภาคธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันนอกเหนือจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สิ่งที่จะมีผลกระทบอย่างมากกับโลกแห่งการเชื่อมต่อของทุกสิ่งตลอดเวลา (Hyper-connected world) คือ ความร่วมมือกันในระบบนิเวศของแวดวงต่างๆ (Integration and ecosystem partnership) ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญและเป็นสิ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกธุรกิจกับเทคโนโลยีไปพร้อมๆ กัน” 

กระแสและโอกาส” (Trend and opportunities)  สำหรับภาครัฐ ความพยายามในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องของกระแสและโอกาสยังคงเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ ของเรา” ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวเกี่ยวกับนโยบายประเทศไทย 4.0” และความท้าทายที่ภาครัฐกำลังเผชิญทางรัฐเองกำลังมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียม และเร่งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโอกาสในการพัฒนาความเป็นอยู่ด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกลไกสำคัญในการทำให้ประเทศไทย 4.0 เป็นจริง” 

รับ ปรับ ขยับตัว” (Adopt, Adapt, Ahead)

การเรียนรู้และปรับตัวเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เรายืนอยู่เหนือความเปลี่ยนแปลงได้ แต่เรากลับมีเวลาน้อยลงทุกทีในการทำเช่นนั้น” ดร.จอห์น เลสลี่ มิลลาร์ จาก บริษัท เอกซ์โพเนนเชียล วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าว เมื่อพูดถึงแนวโน้มการเติบโตที่ต้องทำไปควบคู่กันระหว่างธุรกิจและเทคโนโลยี สิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นเพียง 1 ใน 10 ของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ และเราไม่มีเวลามากเท่าที่เราเคยคิดอีกต่อไปแล้ว

โตเกินไว โตแบบเลขยกกำลัง” (Not a linear growth, exponential growth)

การเติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) คือการที่เราต้องหยุดคิดถึงการเติบโตแบบเส้นตรง แต่คิดแบบเลขยกกำลัง ที่กระโดดขึ้นเป็นเท่าตัวตามเลขชี้กำลัง” นายณัฐพล วิมลเฉลา SingularityU (SU) Bangkok Chapter อธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของการเติบโตที่รวดเร็วแบบปกติ และการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่เราเห็นว่าการเติบโตในช่วงหลังพลิกแบบหน้ามือเป็นหลังมือนั้น ไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีเพิ่งได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในระยะหลัง แต่เป็นเพราะเราได้ผ่านช่วงยุคเริ่มต้นของดิจิทัล (Digitalization) มาแล้ว ทำให้ตลาดและผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับพฤติกรรมใหม่ และมีความต้องการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคนวัตกรรมสามารถส่งเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น ตรงความต้องการมากขึ้น การเติบโตต่อจากนี้จึงไม่ใช่เพียงการเติบโตที่รวดเร็ว แต่เป็นการเติบโตที่กระโดดข้ามความเป็นเท่าตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ