Site icon Thumbsup

Twitter เริ่มทดสอบบริการข้อความโฆษณาบน Timeline จาก Keyword Targeting

ภาพจาก venturebeat.com
ภาพจาก venturebeat.com

หลังจากที่ทาง Twitter เริ่มมีการทำเงินจากการบริการ Promoted Tweet ที่เป็นข้อความแสดงขึ้นอยู่บน Timeline ของผู้งานเมื่อ มาได้ช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ตอนนี้ทาง Twitter ได้ออกเครื่องมือตัวล่าสุด ที่จะช่วยทำให้ข้อความทวีตที่เราต้องการจะโปรโมทนั้นเข้าถึงกลุ่มคนหรือกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการได้ตรงกลุ่มที่สุดนั่นคือ Keyword Targeting

Keyword Targeting เครื่องมือที่ทาง Twitter ตัวล่าสุดที่เปิดให้แคมเปญโฆษณาต่างๆ ได้ระบุคำที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ (keyword) ที่ต้องการ หรือต้องการให้เป็นผลการค้นหาเมื่อใส่คำนั้นลงไป นอกเหนือจากนั้นก็ยังสามารถที่จะระบุเจาะจงถึงที่อยู่ปัจจุบัน (Location), เพศ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้งาน Twitter ของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะให้ข้อความทวีตที่ต้องการโปรโมทไปแสดงผลบนหน้าข้อความรวมหรือ Timelines ของผู้ใช้คนนั้น

หลักการในการส่งข้อความทวีตไปขึ้นบนหน้า Timelines ของคนที่เป็นเป้าหมายโดยเมื่อมีการพูดถึงคำที่ไปตรงกับคำที่มีการโปรโมท ข้อความที่ลงโฆษณาไว้ก็จะปรากฏขึ้นบน Timelines ของคนคนนั้นทันที เช่นเดียวกับการค้นหาเมื่อไปตรงกับคำนั้นก็จะแสดงผลออกมาในหน้าผลการค้นหาได้อย่างง่ายดาย โดยในตอนนี้เริ่มมีบริษัทบางบริษัทเริ่มทดลองใช้งานบริการนี้บ้างแล้ว เช่น Microsoft Japan, Walgreens, และ GoPro

อย่างที่บอกไปว่า Keyword Targeting เป็นเครื่องมือที่เอามาเสริมการใช้งานในการทำ Promoted Tweet เพราะเมื่อก่อนนั้นทาง Twitter เปิดให้ระบุกลุ่มคำและหมวดหมู่ย่อยเพื่อสำหรับการใช้โปรโมทไม่กี่ประเภทและไม่กี่คำ เช่น “movies (ภาพยนตร์)”, “hobbies (งานอดิเรก)” โดยจะแตกเป็นคำตามกลุ่ม เช่น “sci-fi” และ “cartoons” เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวเลือกนั้นกว้างมากๆ และการแสดงผลก็ไม่สามารถทำได้ตรงกลุ่ม และแน่นอนว่าเครื่องมือตัวนี้จะมาอุดรอยโหว่นี้ได้อย่างแน่นอน ตามคำบอก Nipoon Malhotra – Product Manager จากทาง Twitter

PM ของทาง Twitter ได้ยกตัวอย่างของแบรนด์กล้องอย่าง GoPro ที่อยู่ในช่วงการทดสอบการใช้ Keyword Targeting ว่าข้อความที่ได้ทำการโปรโมทไปนั้นถูกคนเห็นมากกว่า 2 ล้านครั้ง และมี engagement rates สูงถึง 11%

เชื่อได้ว่าเครื่องมือนี้น่าจะดึงเงินเข้ากระเป๋าทาง Twitter ได้มากกว่าเดิมกว่าปัจจุบันเพราะอย่างที่บอกไปข้างต้นว่าเดิมทีนั้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถทำได้เลย จะทำได้เพียงแค่กำหนดกลุ่มคำที่มีให้เลือกอย่างจำกัด ปลายทางก็เลยออกมาไม่ค่อยได้รับความนิยมนักอย่างเช่นทุกวันนี้

คำถามก็คือ …หากมีผู้กำหนดคำที่เหมือนๆ กัน พร้อมกับตัวเลือกตัวอื่นที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะประเทศ, เพศ และอื่นๆ ทาง Twitter จะมีระบบจัดการในการเลือกหยิบข้อความมาแสดงอย่างไร ซึ่งถ้าให้เดาทิศทางที่ Twitter น่าจะทำได้ก็คงทำคล้ายกับการประมูลคำในการค้นหา เหมือนกับที่ Adwords บน Google ทำมาที่ใครให้มาก ก็มีเปอร์เซ็นต์ในการแสดงผลข้อความและอันดับได้มากกว่าเดิม นั่นก็หมายความว่าเงินที่ทาง Twitter จะได้ก็จะไม่เป็นเรทตายตัว แต่เกิดจากการแข่งขันกันเองของคนลงข้อความทวีตโปรโมท

ไม่รู้จะเป็นในรูปการแบบนี้จริงไหมนะครับ ซึ่งถ้าจริง รับรองว่า Twitter เงินวิ่งเข้าหาแบบนับกันไม่ทันแน่นอน

ที่มา: Twitter Advertising Blog, Search Engine Watch