Site icon Thumbsup

Visa เผยแนวโน้มพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบ Contactless ของคนไทย

ตั้งแต่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การเป็นตัวเร่งให้ผู้คนและธุรกิจต้องปรับตัว ซึ่งรวมถึงการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลส (Contactless) ผู้คนเริ่มเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมให้กับการชำระเงินรูปแบบนี้ ธุรกิจเองเริ่มก็ต้องเริ่มปรับตัวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย วีซ่าผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิตอล ได้เปิดเผยผลสำรวจทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี ซึ่งรายละเอียดแสดงให้เห็นถึงทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคชาวไทย

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ระบุถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปและความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค รวมถึงการร่วมมือให้ความรู้ในเรื่องประโยชน์ของการชำระเงินแบบคอนแทคเลส จึงมองเห็นแนวโน้มการเติบโตของการชำระเงินรูปแบบนี้

เหตุผลที่ใช้วิธีการชำระแบบคอนแทคเลส

68% ไม่ต้องการถือเงินสด 

58% ต้องการใช้นวัตกรรมใหม่ในการชำระเงิน 

55% เป็นวิธีการชำระที่รวดเร็วกว่าวิธีการอื่นๆ 

ความถี่ของการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลส

82% ใช้บัตรคอนแทคเลสในการใช้จ่ายอย่างน้อยหรือมากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์

จุดที่ใช้จ่ายด้วยบัตรคอนแทคเลสมากที่สุด

ระหว่างการเดินทางในต่างประเทศ (17 เปอร์เซ็นต์)

ซูเปอร์มาร์เก็ต (12 เปอร์เซ็นต์)

ร้านค้าปลีกต่างๆ (11 เปอร์เซ็นต์)

แนวโน้มสู่สังคมไร้เงินสด

82% สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่พึ่งเงินสดและหันมาใช้การชำระเงินในรูปแบบไร้เงินสดแทนในชีวิตประจำวัน

72% เลือกชำระเงินในรูปแบบไร้เงินสดเพิ่มมากขึ้นในปีหน้า

28% เชื่อว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้มากกว่าหนึ่งเดือนโดยไม่พึ่งพาการใช้เงินสด

58% ชื่ออยู่ว่าพวกเขาสามารถอยู่โดยไม่ชำระเงินผ่านเงินสดได้เพียง 24 ชั่วโมง

ประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ

58% ความสะดวกสบาย

56% เพิ่มความสามารถในการวางแผนทางการเงิน

55% ลดความเสี่ยงจากการโจรกรรม

44% ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน

แม้ว่าเทคโนโลยีด้านการชำระเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด แต่การร่วมมือของผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัฐที่สุดที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการชำระเงินแบบคอนแทคเลสมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตก้าวไปข้างหน้า