Site icon Thumbsup

คุยเรื่องวิสัยทัศน์กับ Jack Zhang จาก LAZADA และแผนบุกตลาดอีคอมเมิร์ซในครึ่งปีหลัง

แจ็ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด

แม้ประวัติการทำงานผมจะเป็นด้านวิศวะและการบริหารซัพพลายเชน แต่สิ่งที่ผมอยากบริหารงานใน LAZADA ต่อจากนี้ คือการทำให้คนไทยสัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องง่าย

 

เป็นคำกล่าวที่น่าสนใจทีเดียวสำหรับ คุณแจ็ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด ที่เข้ามาดูแคมเปญและบริหารงานหลังจากที่ เจมส์ ตง ซีอีโอของลาซาด้า ที่เพิ่งมานั่งประจำการในไทยไม่นาน ก็ต้องรับไม้ต่อเข้าไปช่วยดูตลาดเวียดนาม แม้ว่าเขาจะต้องบริหารตลาดอีคอมเมิร์ซถึง 2 ประเทศ แต่ความคึกคักของตลาดอีคอมเมิร์ซและคู่แข่งที่มาแรงทุกค่าย ทำให้ต้องงัดลูกหม้อจากอาลีบาบามาช่วยเสริมทัพ และความสามารถของเขาก็น่าจะทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทยสนุกขึ้นกว่าเดิม

แจ๊ค : แม้ว่าผมจะมาจาก Alibaba แต่ด้วยประสบการณ์ในการทำงานของผม เชื่อว่าประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีมา จะช่วยสร้างประสบการณ์และความมั่นใจในการใช้งานที่สะดวกขึ้น โดยในปีนี้จะมีการนำเครื่องมือใหม่เข้ามาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ออกโปรโมชั่นกระตุ้นให้เกิดการช้อปปิ้งมากขึ้น รวมทั้งมีซูเปอร์โซลูชั่นที่จะช่วยให้การขายสินค้าออนไลน์เป็นเรื่องง่าย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมฝึกอบรมสำหรับร้านค้าออฟไลน์ที่อยากเข้ามาขายสินค้าออนไลน์

ทั้งนี้ บริษัทมี Vision ที่จะขยายกลุ่มลูกค้าแตะ 300 ล้านคนในปี 2030 ซึ่งนั่นหมายความว่าคนไทยจะต้องมีความคุ้นเคยและเชื่อมั่นกับการช้อปป้ิงออนไลน์ รวมทั้งมีพฤติกรรมในการเข้าถึงโลกออนไลน์ก่อน

แม้ประวัติการทำงานผมจะเป็นด้านวิศวกรรมและการบริหารซัพพลายเชน แต่สิ่งที่ผมอยากบริหารงานใน LAZADA ต่อจากนี้ คือการทำให้คนไทยสัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องง่าย

เตรียมเปิด LAZ MART กันยายนนี้

นอกจากแคมเปญ 9.9, 10.10, 11.11, 12.12 ที่จะมีในช่วงครึ่งปีหลังแล้ว ยังมีแผนที่จะทำ Laz Mart เพื่อเข้ามาช่วยเสริมประสบการณ์ ในการช้อปปิ้งออนไลน์จะไม่ต่างจากการเดินไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าเลย

แนวคิด Laz Mart (ลาซมาร์ท) นั้น เราเอามาจาก Retail Model คือนำสินค้าที่อยู่บนเชลฟ์มาไว้บนแพลตฟอร์ม เพื่อให้คนที่ไม่สะดวกจะเดินทางไปที่ห้างสรรพสินค้า สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านลาซาด้าได้เลย

โดยในช่วงแรก จะเน้นที่กลุ่มสินค้าแห้งก่อน เพราะมีสินค้าแห้งจำนวนมากที่คนอยากสั่งซื้อ จากนั้นในสเต็ปต่อไป ผู้ใช้งานจะสามารถสั่งซื้อของสดและส่งภายในวันเดียวได้ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในช่วงของการทดสอบในหลายๆ ด้านก่อน หากทำงานได้ดี ค่อยเปิดให้สั่งสินค้าได้ทุกประเภท

ส่วนความกังวลใจของร้านค้ารายย่อยที่นำสินค้ากลุ่มอาหาร ของใช้งานมาขาย อาจจะกังวลว่าถ้ามีร้านค้าปลีกเข้ามาขายบนแพลตฟอร์มจะเกิดการแข่งขันหรือไม่ ทางลาซาด้ามองว่าอยู่ที่ความพึงพอใจของลูกค้า หากคุณมีการบริหารจัดการที่ดี สื่อสารกับลูกค้าได้ดี แม้จะมีคู่แข่งใหญ่แค่ไหนเข้ามาก็ไม่กระทบกับการเลือกใช้บริการของลูกค้าอย่างแน่นอน

ทางด้านของการลงทุนในปีนี้ ยังคงเน้นหนักไปที่เรื่องของ Warehouse และ Logistics เป็นหลัก เพราะสองเรื่องนี้ ถือว่าเป็นแกนสำคัญที่จะช่วยให้ประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าดีขึ้น

เมื่อถามถึงระดับค่าส่งจากทางลาซาด้าเอง และการส่งจากพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์นั้น ผู้บริหารจากลาซาด้าตอบว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้เข้าไปช่วยเรื่องค่าจัดส่งทำให้ต้นทุนด้านนี้ลดลงไปแล้ว แต่เชื่อว่าในอนาคตจะลดลงได้อีก เพื่อไม่ให้ลูกค้าและร้านค้าต้องแบกภาระในส่วนนี้

เทศกาลช้อปปิ้ง ช่วยผู้ขายอย่างไรบ้าง

สำหรับภาพรวมธุรกิจของลาซาด้าในระดับภูมิภาคตั้งแต่เดือนมกราคมกรกฎาคม  2562 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนผู้ใช้บริการ (Buyers) เพิ่มขึ้นถึง 105% ส่วนกลุ่มผู้ขาย (Sellers) พบว่ามีการเติบโตขึ้นกว่า 90%

ในช่วงเทศการช้อปปิ้งที่ผ่านมาของทางลาซาด้านั้น มีทิศทางของตัวเลขที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้ซื้อเพิ่มขึ้น 63% คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 55% ช่วยให้ยอดขายของร้านค้าเพิ่มขึ้น 45% ดังนั้นในช่วงครึ่งปีหลังนี้ จะมี 4 เทศกาลใหญ่คือ 9.9 Big Discovery Day คือการเปิดกว้างให้ร้านค้าหน้าใหม่เข้ามานำเสนอสินค้าที่น่าสนใจ จากนั้นจะมีเทศกาล 10.10 Women Festival ก่อนจะมีเทศกาลใหญ่ 11.11 Biggest One Day Sale ของปีนี้ และปิดท้ายด้วย 12.12 Grand Year End Sale

ทั้งนี้ ลาซาด้ายังมีการให้ความรู้แก่ผู้ขายมากขึ้น โดยมี 6 กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการออนไลน์ คือ 

นอกจากนี้ ยังมีการนำโมเดลจาก Taopao ในการมาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ด้วย โดยร่วมมือกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับผู้ประกอบการรากหญ้า และผลักดันสินค้าชุมชนเข้าสู่การค้าออนไลน์ ผ่านโครงการสมาร์ท วิลเลจ ออนไลน์ (Smart Village Online)

เพื่อช่วยในการสร้างงานและส่งเสริมรายได้ผ่านอีคอมเมิร์ซ โดยได้ทำการคัดเลือก 5 ชุมชนที่มีความพร้อม ได้แก่ ชุมชนนาข่า จังหวัดอุดรธานี, ชุมชนด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา, ชุมชนแม่พระประจักษ์ จังหวัดสุพรรณบุรี, ชุมชนควนขนุน จังหวัดพัทลุง และชุมชนใบชา จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นชุมชนที่มีสินค้าแสดงถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เป็นชุมชนเข้มแข็ง มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ

สำหรับโครงการสมาร์ท วิลเลจ ออนไลน์ ได้เริ่มดำเนินการแล้วกับชุมชนนาข่าเป็นแห่งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ลาซาด้าได้ลงพื้นที่สำรวจ สื่อสารกับชุมชนเป้าหมาย จัดกิจกรรมเวิร์คช้อป มีการทำโปรโมชั่นผ่านแอปพลิเคชัน จัดงานแสดงสินค้าชุมชนที่ผ่านการพัฒนาด้านดิจิทัลแล้วอย่างผ้านาข่าชุมชนอัจฉริยะออนไลน์และจากนี้จะเป็นการลงพื้นที่จัดกิจกรรมเวิร์คช้อปกับชุมชนที่เหลืออย่างต่อเนื่องในปีนี้