Site icon Thumbsup

รวมลูกเล่น 26 วิธีใช้วิดีโอเพื่อทำการตลาดในโลกโซเชียล

จากการศึกษาพบว่าผู้บริโภคถึง 90% บอกว่าวิดีโอของแบรนด์เป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อ จึงเป็นเรื่องที่พลาดมาก ถ้าแบรนด์ไม่ทำ และเสียโอกาสนี้ไปให้คู่แข่ง

บทความนี้จะพูดถึง 26 วิธีที่จะช่วยเพิ่ม Engagement และเปอร์เซ็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (conversion rate) รวมถึงเทคนิคการใช้ลูกเล่นนิดๆ หน่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวิดีโอในทุกช่องทางโซเชียลมีเดียล เพื่อส่งผลดีการตลาดต่อไป

1. เรียนรู้ความยาวของวิดีโอในแต่ละช่องทางเพื่อสร้างความต่าง

เลือกอัปโหลดวิดีโอที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับความยาวในแต่ละช่องทาง
Facebook : 120 นาที
Twitter แนะนำให้ทำวิดีโอที่มีความยาวต่ำกว่า 30 วินาที
Instagram : 60 วินาที
Snapchat : 10 วินาที
Vine : 6 วินาที

2. ตั้งค่าให้เล่นอัตโนมัติ

เราสามารถตั้งค่าให้เล่นอัตโนมัติได้ ทั้งใน Twitter, Facebook และ Instagram เมื่อผู้ใช้เลื่อนหน้าจอผ่านหน้านิวฟีดแล้วเห็นวิดีโอของแบรนด์เล่นอยู่ จะช่วยกระตุ้นให้คนอยากดูวิดีโอของเรามากขึ้น และส่งผลให้ยอดวิวสูงขึ้นตามไปด้วย

3. ใส่ซับไตเติล

การใส่ซับไตเติลช่วยให้คนสามารถดูวิดีโอของเรารู้เรื่องในเวลาที่เขาไม่สามารถเปิดเสียงได้ เช่น อาจจะแอบดูวิดีโอในห้องประชุม หรือที่สาธารณะ ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถเข้าใจสิ่งที่เราต้องการสื่อสารด้วย

4. ทำ Live วิดีโอ

จากการศึกษาพบว่า มีจำนวนคนชมวิดีโอที่กำลัง Live อยู่มากกว่าวิดีโอที่ไม่ได้ทำแบบ Real-time ถึง 3 เท่า
ซึ่งการทำ Live ยังช่วยให้แบรนด์สามารถเห็นจำนวนคนดู คอมเมนต์ของผู้ชม และโต้ตอบได้แบบทันที

5. จับลูกค้าให้อยู่หมัดภายในแวบแรก

แบรนด์จะต้องสร้างความน่าสนใจให้ได้ภายใน 10 วินาทีแรก (หรือน้อยกว่านั้น) นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ Vine ประสบความสำเร็จกับการทำวิดีโอความยาว 6 วินาที

6. สร้างวิดีโอประเภท How-to

คอนเทนต์ประเภท How-to หรือสอนทำอะไรบางอย่างเป็นขั้นตอนง่ายๆ ได้รับความนิยมอย่างมากในทุกช่องทางของโซเชียล โดยแบรนด์สามารถใช้เครื่องมือที่ทำให้วิดีโอเล่นเร็วขึ้น เพื่อให้มีความยาวที่เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม

7. สร้างคอนเทนต์ที่ส่งผลต่อความรู้สึก

อะไรที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก (Emotional) จะทำให้คนเกิด Action อะไรบางอย่างตามมาได้ง่ายกว่า และทำให้คนดูรู้สึกอินตามไปด้วย ต้องยอมรับว่า วิดีโอคือประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถสื่อสารถึงความรู้สึกได้ดีกว่าทางอื่น และสามารถสร้างความรู้สึกกระแทกใจได้ในระยะเวลาที่จำกัด

สำหรับการเพิ่มความ Emotional แบรนด์สามารถเลือกใช้ภาษา เสียงพื้นหลัง และฟอนต์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับความรู้สึกที่ต้องการถ่ายทอดในแต่ละช่วงของวิดีโอ ซึ่งคำว่า Emotional ไม่ได้แปลว่าต้องเป็นเรื่องเศร้า แต่สามารถเป็นเรื่องที่ทำให้คนมีความสุขมากขึ้น สร้างความรู้สึกทางบวก หรือสร้างแรงบันดาลใจก็ได้

8. ทำให้ค้นหาแล้วเจอ

ใส่ Keyword หรือวลีที่ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาคอนเทนต์ของเราเจอในทุกช่องทาง และอย่าลืมใส่แฮชแท็คใน Twitter และ Instagram เพื่อเพิ่มการค้นหาด้วย

9. ใส่ Call to Action (CTA)

อะไรคือเป้าหมายของวิดีโอนั้นๆ อยากเพิ่มจำนวนเยี่ยมชมเว็บไซต์ อยากให้คนแชร์ หรืออยากให้คนซื้อสินค้า เมื่อตั้งเป้าหมายแล้วก็อย่าลืมใส่ลิงก์ หรือปุ่มอะไรก็ตามเพื่อให้ตอบโจทย์สำหรับการสร้างวิดีโอนั้นขึ้นมา

วิธีการที่มีประสิทภาพที่สุดคือการใส่ CTA ไว้ท้ายวิดีโอ โดยอาจจะเป็นแค่ประโยคที่บอกให้คนดูทำอะไรต่อ เช่น “คุณสามารถช่วยให้แคมเปญเกิดขึ้นได้ เพียงไปลงทะเบียนที่เว็บไซต์” หรือ “เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ …”

10. ตอบคำถาม

การตอบคำถามจะทำให้คนถามรู้สึกบวกกับแบรนด์ได้ในทันที นอกจากนี้ยังทำให้เรารู้ด้วยว่าคอนเทนต์ที่เรานำเสนอไป ถูกใจกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การตอบคำถามจึงถือเป็นการเพิ่ม Engagement และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของเรา

11. สร้างความน่าสนใจแม้ไร้เสียง

แม้หลายธุรกิจจะเลือกสร้างความน่าสนใจในช่วงวินาทีแรกด้วยเสียงเพลง หรือการพูดประโยคเด็ด แต่การสร้างความน่าสนใจโดยที่ไม่ใช้เสียงเลยก็จำเป็น เพราะบางครั้งผู้ใช้เลื่อนหน้าไทม์ไลน์ไปเร็วๆ เราจึงต้องมีภาพที่น่าสนใจเพื่อให้คนหยุดดู ทั้งนี้ก็เคยมีสถิติที่ออกมายืนยันว่าผู้ใช้ถึง 85% ดูวิดีโอใน Facebook โดยไม่เปิดเสียง

12. โพสต์วิดีโอในแต่ละช่องทางโดยใช้เครื่องมือของแพลทฟอร์มนั้น

ทุกวันนี้นอกจาก YouTube แล้ว โซเชียลมีเดียอื่นๆ ก็ให้คนสามารถอัปโหลดวิดีโอผ่านช่องทางนั้นๆ ได้เลย อย่างใน Facebook เอง ถ้าเป็นวิดีโอที่อัปโหลดผ่าน Facebook อัลกอริทึมจะปรับให้เห็นก่อน และมีประสิทธิภาพมากกว่าการเอาวิดีโอจากแหล่งอื่นมาแปะ

13. แชร์ข่าวเด่น ข่าวดัง ข่าวสำคัญที่เกิดขึ้นทันที

ไม่มีอะไรจะน่าสนใจไปกว่าการอัปเดทข่าวสารเกี่ยวกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำสินค้าใหม่ หรือว่าประกาศความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร การแชร์เรื่องเหล่านี้ลงในโลกโซเชียลจะช่วยรักษาฐานแฟนคลับของเราให้อยู่ในวงโคจรกับเราไปนานๆ

14. ใส่ฟีเจอร์วิดีโอเข้าไปใน Facebook

การใส่ฟีเจอร์วิดีโอ ช่วยให้เมื่อมีคนเข้ามาในเพจจะเห็นวิดีโอใต้โปรไฟล์ (และเห็นคนที่มากดไลก์เพจนี้เช่นเดียวกัน) วิธีการใส่ฟีเจอร์นี้ก็ง่ายมาก แค่คลิกแท็บคำว่าวิดีโอที่อยู่ล่าง cover photo แล้วใส่วิดีโอเข้าไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเพจเป็นอย่างมาก โดยเราอาจจะใส่วิดีโอเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือวิดีโอที่สะท้อนถึงเรื่องราวของผู้บริโภคก็ได้

15. ให้คนดูได้เห็นเบื้องหลัง

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนติดตามแบรนด์ เพราะความโปร่งใส ผู้บริโภคเชื่อว่าเขารู้จักแบรนด์นั้นดีว่าแบรนด์นั้นเท่ากับอะไร และทำอะไร ดังนั้นการให้พวกเขาได้เห็นเบื้องหลังถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างแบรนด์ที่แข็งแรง

ยกตัวอย่างเช่น การให้เห็นเบื้องหลับการผลิตสินค้า หรือใครเป็นคนผลิต สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จะช่วยเพิ่มความจงรักภักดีต่อแบรนด์ เหมือนการเล่าเรื่องราวที่ทำให้คนรู้สึกเชื่อมโยงผ่านตัวแทนของแบรนด์ที่เป็นมนุษย์

16. ใส่ลูกเล่นให้กับวิดีโอ

แบรนด์สามารถใช้เครื่องมือในการตัดต่อวิดีโอให้มีประสิทธภาพหรือน่าสนใจมากขึ้น เพราะการแข่งขันยอดวิววิดีโอสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งบางลูกเล่นสามารถตัดต่อได้จากโซเชียลมีเดีย เช่น Snapchat ซึ่งนอกจากจะใส่กราฟฟิคดุ๊กดิ๊กได้แล้ว ยังสามารถใส่แคปชันหรือซับไตเติลได้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันหลายตัวที่ปล่อยให้ออกมาให้โหลดฟรี ซึ่งแบรนด์สามารถลองโหลดมาเล่นเพื่อสร้างความต่างให้กับวิดีโอได้ เช่น Lapse It หรือ Lightworks

17. จับประเด็นร้อนที่อยู่ในกระแส และสร้างแฮชแท็ก

แต่ไม่ใช่ว่าจับทุกประเด็น สิ่งสำคัญคือแบรนด์ต้องเลือกประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์และผู้บริโภคของแบรนด์นั้น เพื่อเพิ่มบทจำนวนคนเห็นและ engagement ที่ดี

18. ซื้อโฆษณาวิดีโอ

โดยเราสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ตามต้องการเมื่อเราลงเงิน โดยอาจมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดวิวและ engagement ทั้งนี้แบรนด์สามารถปล่อยวิดีโอลงในเพจก่อนโดยไม่บูสต์ เพื่อดูว่าวิดีโอมีกระแสดีหรือไม่ แล้วค่อยเลือกว่าจะลงเงินกับมันเท่าไหร่ เพราะใครๆ ก็รู้ว่าทุกคนมีงบที่จำกัด

19. เขียน Headline ให้น่าสนใจ

Headline เป็นสิ่งแรกที่ follower เห็น ดังนั้นเราต้องทำให้คนดูเกิดความสงสัย หรือสนใจจนอยากจะดูวิดีโอนั้นจนจบ ในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้คนอื่นเข้าใจได้ว่าวิดีโอนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร ที่สำคัญคืออย่าลืมใส่ keyword เพื่อเพิ่มอันดับในการค้นหา

20. ให้แฟนคลับช่วยสร้างคอนเทนต์

User-generate content เป็นสิ่งที่หลายแบรนด์เลือกใช้ เพราะสามารถเพิ่มประโยชน์ได้มาก และยังเพิ่มทั้ง engagement และความจงรักภักดีให้กับแบรนด์

21. ใส่ Logo

ทุกธุรกิจต้องการโปรโมทแบรนด์ของทุกทางเท่าที่จะทำได้ และช่องทางโซเชียลก็เช่นกัน เวลามีคนแชร์วิดีโอจากเพจของเรา จะทำให้คนอื่นเห็นเราได้จากชื่อหรือรูปโปรไฟล์ หรือถ้าไม่แชร์ผ่านเพจ ก็ควรใส่ logo ไว้ที่มุมวิดีโอ หรือสิ่งที่จะทำให้คนเห็นแล้วจำได้ทันที ซึ่งมันอาจจะทำให้คนดูรู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น

22. โฟกัสเพียงหนึ่ง key message

เลือกส่ง message เดียวต่อหนึ่งวิดีโอ ทำให้มันง่ายและกระชับเข้าไว้จะทำให้วิดีโอแสดงผลได้ดีในโซเชียลมีเดีย ทุกวิดีโอจะต้องมีหนึ่งประเด็นที่เป็นจุดฮุค และก็ควรมีแค่ประเด็นเดียว

สุดท้ายอย่าลืมสิ่งสำคัญ คือการใส่ Call to Action ที่ตอนจบของวิดีโอ ซึ่งก็ควรดูวิดีโอของเราให้ส่งผลต่อ Call to Action ที่เราต้องการด้วยเช่นกัน

23. มั่นใจว่าคุณภาพเสียงวิดีโอต้องดี

ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากทนฟังเสียงดังๆ ค่อยๆ สลับกัน หรือเสียงซ่าๆ เพราะมันอาจจะทำให้แบรนด์เสียความน่าเชื่อมั่น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ message ที่เราอยากบอกผิดเพี้ยนไป เพราะคนมัวแต่สนใจเสียงที่ขัดข้อง ดังนั้นเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิดีโอที่โพสต์ไปมีคุณภาพเสียงที่ดี

ถ้าแบรนด์ของคุณกำลังจะทำ live ลองตรวจสอบโดยการอัดคลิปสั้นๆ ดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าคลิปจะถูกเผยแพร่อย่างมีประสิทธิภาพ

24. สร้างเรื่องราว

การสร้างเรื่องราวมีพลัง เพราะมันทำให้แบรนด์สามารถเชื่อมโยงกับคนดูได้ ยิ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับคนจริงๆ จะทำให้คนดูรู้สึกจับต้องได้ และทำให้เขาจดจำ

25. ติดตามยอด Engagement, ยอดวิว และยอดคลิก

ติดตามประสิทธิภาพของวิดีโอผ่านทุกแพลทฟอร์มคือสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะจ่ายเงินบูสต์หรือไม่ก็ได้ อย่างใน Facebook เองก็มีหน้า analytics ที่แสดงจำนวนคนเห็นวิดีโอ และจำนวนคนที่ดูวิดีโอเพียง 10 วินาที นอกจากนี้ยังสามารถดูจำนวน reach, ยอดวิว และจำนวนคนที่ดูวิดีโอจนจบ

26. เลือกรูป thumbnail ที่น่าสนใจ

อย่าลืมว่า first impression สำคัญเสมอ thumbnail คือสิ่งแรกที่คนดูจะเห็น ดังนั้นควรเลือกรูปให้ดีก่อนจะโพสต์วิดีโอ อย่างใน Facebook หรือ Instagram จะให้เราเลือกภาพจากในคลิปว่าอยากแสดงภาพจากช่วงไหน ส่วน YouTube ก็ใจดี ให้เราไปแก้ไข้รูป thumbnail ย้อนหลังได้

ที่มา : SocialMediaExaminer