Site icon Thumbsup

ม.เชียงใหม่ แนะวงการแพทย์ควรรีบปรับตัวใช้เทคโนโลยี เพื่อป้องกันปัญหาภัยคุกคาม จับมือซิสโก้วางระบบดิจิทัลเฮลท์แคร์

จากปัญหาเรื่องภัยคุกคามจากแฮคเกอร์ทำให้วงการแพทย์และสาธารณสุข จำเป็นต้องหามาตรการในการป้องกันเรื่องดังกล่าว ก่อนจะสูญเสียข้อมูลทางการรักษาไปกับโจรร้ายเหล่านี้ คณบดีแพทย์ศาสตร์ ม.เชียงใหม่เล่าว่า เขาเคยเป็นหนึ่งในผู้ประสบปัญหาภัยคุกคามมาก่อน และจำเป็นต้องเร่งหาทางแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดเรื่องซ้ำ

การร่วมมือกับทางซิสโก้ในครั้งนี้ จัดทำขึ้นภายใต้ “โครงการร่วมพัฒนานวัตกรรมด้านสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Med Tech Co-innovation)” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการ และสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขอย่างยั่งยืน สู่ความเป็นเลิศด้านการบริการทางการแพทย์ พร้อมยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลเฮลท์แคร์ (Digital Healthcare Experience) โดยความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

ความร่วมมือนี้ มุ่งพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ครอบคลุมบริการของโรงพยาบาลทั้งหมด เพื่อรองรับผู้ป่วยจาก 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ รวมถึงเป็นฐานสำหรับการวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อยอดทางด้านการแพทย์ในอนาคต โดยทางซิสโก้มีการสนับสนุนโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน (Network Infrastructure), เทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราห์ข้อมูล (Data Analytics), เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI),  แมชชีน เลิร์นนิ่ง (ML), ไอโอที (IoT), เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technologies) และเทคโนโลยี SDN (Software-Defined Networking)

ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เทคโนโลยีด้านบริการทางการแพทย์มีแนวโน้มการเติบโตอย่างมาก จากสำรวจของ Global Market Insights[1] ชี้ให้เห็นว่ามีการใช้บริการปรึกษาแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มูลค่าตลาดโลกในส่วนของการให้บริการปรึกษาทางการแพทย์ (Telemedicine) มีมูลค่าถึง 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 175,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2569 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 19.3

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำระดับมาตรฐานสากล และด้วยพันธกิจที่ต้องสร้างสรรค์งานวิจัย และการบริการสุขภาพมาตรฐานระดับสากล ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของคณะแพทยศาสตร์ฯ และซิสโก้ที่จะได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมในการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ในอนาคต”

จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับซิสโก้ที่ผ่านมา เรามีความมั่นใจทั้งในส่วนขององค์ความรู้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย โซลูชั่นในการให้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย และพร้อมสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์ฯ ในการยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลเฮลท์แคร์ (Digital Healthcare Experience) เพื่อบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแบบบูรณาการในอนาคต”

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า “ดิจิทัลเฮลท์แคร์เป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับความสามารถทางการแพทย์ และการให้บริการด้านสาธารณสุข จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนในประเทศ

ซิสโก้ทำงานร่วมกับองค์กรด้านสุขภาพทั่วโลกด้วยการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดูแลสุขภาพทางไกล (Telehealth) และโซลูชันนวัตกรรมอื่นๆ ที่ใช้เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน รวมถึงโมบิลิตี้ ความปลอดภัยและดาต้าเซ็นเตอร์ ซิสโก้มีความยินดีที่ยังคงได้รับความไว้วางใจจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สานต่อความร่วมมืออีกขั้นในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุขครั้งนี้ เพื่อยกระดับการให้บริการดิจิทัลทางการแพทย์แบบครบวงจร ซิสโก้มีความยินดีในการนำเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งสู่การเป็นให้เป็นโรงเรียนแพทย์ดิจิทัลแห่งอนาคตอย่างแท้จริง”