Site icon Thumbsup

คู่มือเปลี่ยน!! “New Year Resolution” ของคุณให้เป็นจริง

เข้าสู่ปีใหม่แล้วก็เป็นช่วงเวลาของการตั้ง New Year Resolution ใหม่ๆ  ซึ่งของบางคนก็อาจจะเป็นเป้าหมายเดิมที่มาจากปีก่อนๆ ที่ยังไม่สำเร็จสักที เช่น ลดน้ำหนัก เรียนภาษาที่ 3 วิ่งมาราธอน หรือปิดหนี้บัตรเครดิต ฯลฯ

ซึ่งหนังสือ “ที่…หัวมุมถนน” ที่เขียนโดย รวิศ หาญอุตสาหะ เจ้าของเพจ Mission To The Moon และแบรนด์ศรีจันทร์  เล่มนี้เป็นเล่มที่เรารู้สึกว่ามีแนวทางช่วยในการพิชิตเป้าหมายปีใหม่ได้อย่างน่าสนใจ

ในหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวของ รวิศ หาญอุตสาหะ ที่บอกว่าการที่เขาลุกขึ้นมาวิ่งมาราธอนนั้นเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองจากหน้ามือไปเป็นหลังมือ  เพราะทำให้สามารถเลิกนิสัยเสียอย่าง “การดื่ม” ได้อย่างหมดจด เพราะใช้การวิ่งเป็นวิธีคลายเครียดแทนที่การดื่มที่ทำเป็นประจำ

“นิสัยที่ดี” จะสร้าง “ตารางชีวิตที่ดี”

แน่นอนว่าการวิ่งมาราธอนให้จบได้นั้นจะต้องผ่านการซ้อมมาเป็นอย่างดี  จึงทำให้ต้องมี “วินัย” เพื่อทำตามตารางซ้อมอย่างสม่ำเสมอ  และการก้าวเล็กๆ ในการซ้อมก็ทำให้เขาวิ่งจนจบมาราธอนได้นั่นเอง

นอกจากการวิ่งแล้วเขายังลุกขึ้นมาจัดรายการ Podcast ชื่อว่า “Mission To The Moon” ทุกวันแบบไม่ขาด  จนติดเป็นอันดับ 1  โดยมีคำว่า “วินัย” ในการอ่านหนังสือเพื่อค้นคว้าข้อมูลมาจัดรายการอยู่เบื้องหลังความสำเร็จจุดนี้ (ผู้เขียนเองก็ชอบฟังเพราะรู้สึกว่าการได้ฟังเป็นเหมือนการได้ทำเช็คลิสต์ประจำวันกับตัวเอง  นั่นเพราะรายการมีตอนใหม่ให้ฟังทุกๆ วัน)

หากคุณไม่มีวินัย คุณจะตกเป็นทาสของอารมณ์ความรู้สึก คุณจะตกเป็นทาสความลุ่มหลง และนั่นคือความทุกข์

Eliud Kipchoge – นักวิ่งมาราธอนที่มีสถิติที่ไวที่สุดในโลก

 

ความเป็นจริงแล้วเรื่อง “งาน” กับ “ชีวิตส่วนตัว” นั้นแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้  และการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งเรื่องการงาน สุขภาพ และชีวิตส่วนตัว  สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้หากมีการวางแผนที่ดี  และคุณเองก็สามารถพัฒนาตัวเองในเรื่องงานได้จากจุดเล็กๆ เช่นกัน

เพิ่ม “Productivity” ให้งานด้วยการมี  “ความกล้าหาญทางอารมณ์”

ว่ากันว่าแค่บ่นให้น้อยลงก็จะมีเวลาทำงานให้ดีมากขึ้นนั่นเพราะ “พนักงานออฟฟิศใช้เวลากว่า  10 ชั่วโมงต่อเดือนในการบ่นหรือฟังคนอื่นบ่นเรื่องหัวหน้า และกว่า 33% ใช้เวลาเกิน 20 ชั่วโมงต่อเดือนในการบ่น  หรือว่า 12.5% ของเวลาทำงานทั้งหมด”

พูดง่ายๆ คือ “การบ่น” เป็นการสร้าง “ความสุขชั่วคราว” ที่ทำให้เราเสพติดและสูญเสียเวลาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไป  โดยวิธีการแก้นั้นไม่ยากคือการพูดกับเจ้าตัวต้นเหตุโดยตรงอย่างมีสติ และควบคุมอารมณ์ให้ดี พร้อมคำพูดที่รอบคอบ  หรือที่เรียกว่า “ความกล้าหาญทางอารมณ์” ในการเผชิญหน้าสถานการณ์

ตั้ง “เป้าหมาย” แล้วต้องพุ่งชนให้ได้

เวลาที่เราตั้งเป้าหมายใดๆ ก็ตามมักจะมีแรงฮึดช่วงเเรกๆ เช่น “ปีนี้จะต้องผอมจนมีน้ำหนักเหลือ 45 กิโลกรัมก่อนสิ้นปีให้ได้”  ซึ่งอาจจะลุกขึ้นมาทานอาหารสุขภาพ  พร้อมออกกำลังกายได้ช่วงหนึ่งแต่ก็ล้มเลิกไป  พร้อมความคิดที่ว่า “ไม่ต้องผอมก็ได้  แค่ได้กินอย่างมีความสุขก็พอเเล้ว”  นั่นเพราะเราไม่ได้ “สอน” สมองให้ทำในสิ่งที่เราอยากให้ทำนั่นเอง

ซึ่งคุณรวิศเขียนไว้ว่า “สมองของเราจะตอบสนองต่อเป้าหมายเล็กๆ มากกว่าเป้าหมายใหญ่ๆ”  หากโฟกัสไปที่งานเฉพาะหน้าของวันนี้อย่าง  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้พอ  ก็จะสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าคนที่โฟกัสเป้าใหญ่ไปเลยอย่างลดน้ำหนักให้ได้  10 กิโลกรัมภายใน  2 เดือน  เป็นต้น

ดังนั้นเวลาตั้งเป้าหมายใหญ่ๆ อะไรไว้ก็อยากแแนะนำให้ลองแบ่งย่อยๆ ออกมาเป็นขั้นตอน  ก็จะทำให้คุณมีโอกาสทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จได้มากยิ่งขึ้นค่ะ

“เขียนไดอารี่” เพื่อทำความเข้าใจกับ “ตัวเอง”

เวลาได้ยินคำว่า “เขียนไดอารี่” ก็ชวนให้รู้สึกว่าเป็นกิจกรรมย้อนยุคไปช่วงวัยใสสมัยเด็กๆ  แต่ในหนังสือเล่มนี้บอกเราไว้ว่าการเขียนไดอารี่นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพใจของเรามากกว่าที่คิด เช่น

เรียกได้ว่า “การเขียนไดอารี่”  นั้นทำให้คุณได้ทบทวนเรื่องราวระหว่างวันของตัวเอง  พร้อมทั้งสำรวจชีวิตเมื่อเวลาผ่านไปว่ามีจุดไหนที่เลือกตัดสินใจทำแล้วประสบความสำเร็จ  หรือการตัดสินใจบนพื้นฐานอารมณ์แบบไหนที่ทำให้ล้มเหลว  ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้  และพาตัวเองไปให้ถึงเป้าหมายได้

โดยเนื้อหาที่ยกมาด้านบนนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากในหนังสือ “ที่หัวมุมถนน” เท่านั้น  แต่เนื้อหาที่น่าสนใจนั้นยังมีอีกหลายประเด็น  และเป็นหนังสืออีกเล่มที่เราอยากแนะนำให้คนที่อยากทำเป้าหมายที่วางไว้ในปี 2019 ให้สำเร็จได้ลองซื้อมาอ่านกันค่ะ 🙂

สำหรับใครที่ตั้งเป้าหมายออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี คลิกเลย