Site icon Thumbsup

รับมือกับ #Cyberbully แก้ปัญหาอย่างไรไม่ให้บั่นทอนใจจนป่วย

การใช้ชีวิตในยุคที่สังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ เห็นได้จากหลายกรณีทั้งในไทยและต่างประเทศ ที่การไซเบอร์บูลลี่ส่งผลร้ายทำให้บางคนถึงขั้นคิดสั้นฆ่าตัวตาย หรือถ้าทนไหวก็ต้องจมอยู่กับภาวะซึมเศร้าจนส่งผลต่อการใช้ชีวิต

หากเล่าถึงเคสที่รุนแรงคงหนีไม่พ้นเคสของศิลปินดาราเกาหลีหลายต่อหลายคนอย่าง ซอลลี่ คูฮารา หรือคิมจงฮยอน ที่เจอปัญหาหมักหมมจนทนต่อไม่ไหว ส่งผลให้ในกรณีล่าสุดคือการใช้แบรนด์เนมปลอมของ ซงจีอา จากรายการ Single’s Inferno ก็รุนแรงจนถึงขั้นมีคอมเม้นท์ให้เธอไปฆ่าตัวตายกันเลยทีเดียว

อัตราการฆ่าตัวตายของศิลปินและดาราเกาหลีนั้นถือว่าสูงติดอันดับ 5 ของโลก โดยในปี ค.ศ.2019 พบว่าเกาหลีติดอันดับประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงสุด 5 อันดับแรก (ที่มา : ThaiPBS)

  1. ลิธัวเนีย อัตราฆ่าตัวตาย 31.9 ต่อประชากรแสนคน
  2. รัสเซีย อัตราฆ่าตัวตาย 31.0 ต่อประชากรแสนคน
  3. กุยานา มีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 29.2 ต่อประชากรแสนคน
  4. เกาหลีใต้ อัตราฆ่าตัวตาย 26.9 ต่อประชากรแสนคน ถือว่าเกาหลีเป็นประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงสุดในเอเชีย
  5. เบลารุส อัตราฆ่าตัวตาย 26.3 ต่อประชากรแสนคน

ส่วนความคิดเห็นของคนที่พิมพ์ข้อความบูลลี่คนอื่นนั้น พวกเขาคิดว่า เมื่อคุณคือศิลปินดาราที่ร่ำรวยก็ต้องยอมรับเรื่องเหล่านี้ได้ และการบูลลี่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่เป็นการเรียกร้องความสนใจจากศิลปินดาราเท่านั้น แนวคิดของเหล่าแอนตี้แฟนนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก

เมื่อย้อนกลับมาที่เมืองไทย DTAC เคยทำการสำรวจในแคมเปญที่ชื่อว่า #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา จากการระดมความคิดเห็น พบว่า ประเด็นหลักที่เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่ มาตรฐานความงามที่นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์รูปร่างหน้าตา (Body shaming) มีสัดส่วนสูงถึง 56% ตามด้วยการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) 23% และความเท่าเทียมทางเพศ  (Gender Equality) 21% สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมไทยเองก็ยังมีความวิพากย์วิจารณ์เรื่องรูปลักษณ์ภายนอกของคนที่ตัวเองไม่ต้องใจ ตามมาด้วยการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและหญิง รวมทั้งการเคารพในการแตกต่างทางเพศของคนที่มีความหลากหลายก็ยังเป็นเรื่องหลักๆ ที่มักพบเจอ

วิธีรับมือเมื่อเจอการบูลลี่

กรมสุขภาพจิต ได้แนะแนวทางในการรับมือสำหรับเหล่าคนดังบนโลกออนไลน์ อินฟลูเอนเซอร์ บล็อกเกอร์ ที่มักเจอคอมเม้นท์แย่ๆ หรือแม้แต่คนทั่วไปในสังคมที่เจอคอมเม้นท์รุนแรงไว้ว่า

หากคุณอยู่ในวัยทำงานและต้องเจอเรื่องแบบนี้ในบริษัทสิ่งที่ควรทำคือ

สุดท้าย ปัญหาทุกอย่างก็จะอยู่ที่ตัวเราว่าจะสามารถรับมือ แก้ไขและเข้มแข็งกับเรื่องราวต่างๆ ได้มากแค่ไหนนะคะ