Site icon Thumbsup

‘โรคซึมเศร้า’ เรื่องน่าเศร้าของคนรักงาน และวิธีป้องกันพร้อมรักษาอาการให้หายขาด

หลายคนรักและทุ่มเทอย่างดีในงานที่ตัวเองทำ  แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งกลับพบว่าได้ตกลงไปในหลุมของ ‘โรคซึมเศร้า’ แบบไม่รู้ตัว  แล้วอะไรคือจุดผิดพลาดจากการใช้ชีวิตของเรากันแน่

เราจะมาหาคำตอบในเรื่องนี้ผ่านการคุยกับ กอล์ฟ นันทวัฒน์ ชัยพรแก้ว อดีตครีเอทีฟมือรางวัลคานส์ที่เคยตกอยู่ในวงจรของโรคซึมเศร้า  จนสามารถหาทางออกได้ในที่สุด  ซึ่งเขามาเขียนเล่าเรื่องราวในเพจ เมื่อครีเอทีฟพบจิตแพทย์ เพื่อช่วยเหลือให้คนทำงานทุกคนให้หยุดทรมานจากาอาการนี้  และกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

จิตใจของคนเป็นโรคซึมเศร้า

หากพูดถึงอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้านั้นจะมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากนิสัยเดิม  ทั้งการหมดความสนใจในงานอดิเรก  หรือตื่นมาแล้วก็ไม่อยากลุกขึ้นจากเตียง ประกอบกับการที่มีน้ำหนักลดลงแบบฮวบฮาบ

หรือมีอาการหวาดผวาเหมือนกำลังยืนอยู่ขอบตึก  มีความคิดแวบมาในหัวว่าอนาคตเป็นสิ่งที่น่ากลัว  พร้อมย้อนมองไปที่อดีตแล้วรู้สึกผิดว่าตัวเองไม่ดีพอและไม่มีคุณค่า  ซึ่งคุณกอล์ฟบอกกับเราว่าอาการทั้งหมดนี้ประเดประดังมาพร้อมกัน  จนทำให้อยากเดินไปลาออกจากงานที่เคยรักทุกๆ วัน

โรคซึมเศร้าทำให้ ‘สมองเจ๊ง’

อาการโรคซึมเศร้าจะทำให้สมองจะหยุดหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) สารสื่อประสาทที่ทำให้เรามีความสงบ พร้อมการหยุดหลั่งโดพามีน (Dopamine) ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง มีความภาคภูมิใจ  และอยากที่จะพัฒนาตัวเอง  รวมไปถึงสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) ที่ทำให้มีความรู้สึกแง่บวก

ซึ่งเมื่อทั้ง 3 สารหายไปก็ทำให้สมองส่งความคิดลบเข้ามาอย่างต่อเนื่อง  จนเหมือนกลายตกอยู่ในอาการคล้ายคนเมา แต่เป็นการเมาเศร้า

‘กับดัก’ ของการเป็นโรคซึมเศร้า

เมื่อเป็นโรคซึมเศร้าจะเกิดชุดความคิดด้วยกัน 3 อย่าง  ที่มาจากอาการเหล่านี้นั่นคือ

การทานยาโรคซึมเศร้าไปแล้วตัวยาจะไปช่วยให้สมองหลังสารได้เป็นปกติ  แต่ความคิด 3 อย่างนี้จะเหมือนตัวที่ทำให้ขุดหลุมตัวเองลงไปในวงจรซึมเศร้าแบบย้ำๆ

‘โป้งแปะความคิด’ เพื่อหยุดวงจรซึมเศร้า

ซึ่งวิธีแก้ของ 3 ความคิดนี้คือ ‘การแปะโป้งความคิด’ ของตัวเองเมื่อมีความคิดต่างๆ ผุดขึ้นมาว่า

“นี่แน่ะ..โลภ”

“นี่แน่ะ..ต้าน”

“นี่แน่ะ..หลง”

โดยเป็นการพูดกับตัวเองในใจแบบไม่ต้องออกเสียงก็ได้  และท่องกับตัวเองว่า “เดี๋ยวมันคงจะหาย…หายเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนวิธีพูดกับตัวเองใหม่นั่นเอง

หยุดกินยาเองอาจเสี่ยง ‘โรคซึมเศร้าเรื้อรัง’

อย่างที่บอกในข้างต้นว่าการทานยาโรคซึมเศร้าทำให้สมองหลั่งสารต่างๆ ได้  จนอาการกลับมาเป็นปกติ  แต่เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นมาหลายๆ คนก็มักที่จะหยุดยาเอง  ซึ่งสมองที่ได้รับความเสียหายจากเดิมอยู่แล้วก็กลับมามีอาการอีกครั้ง  จนกลายมาเป็น ‘โรคซึมเศร้าเรื้อรัง’

เพราะเป็นการทานยาแล้วหยุดยาในขณะที่สมองยังไม่พร้อม  ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมาก  เพราะการเป็นโรคซึมเศร้ารอบที่สองและสามนั้นจะทำให้ยิ่งดิ่งลึกลงไปกว่าเดิม

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกตัวเราจะหยุดคิด  แต่เมื่อไหร่ที่เราคิดเราจะไม่รู้สึกตัว

‘สติปัฏฐาน 4’ คือวิธีป้องกันที่ดีที่สุด

การปฎิบัติสมาธิแนว ‘สติปัฏฐานสี่‘ คือการมีความรู้เนื้อรู้ตัวตลอดเวลา  และการนั่งสมาธิแนวเคลื่อนไหวแบบหลวงพ่อเทียน ซึ่งช่วยให้หลุดออกจากความคิดฟุ้งซ่านและตั้งสติให้อยู่กับปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เพราะเราไม่สามารถสั่งให้ตัวเองหยุดคิด  หรือทำตามอย่างที่หลายๆ คนชอบพูดว่า ‘อย่าคิดมาก’ ได้ โดยสมองมีหน้าคิดเป็นปกติ  แต่หน้าที่ของเราคือการดึงตัวเองจาก ‘โหมดความคิด’ ให้ย้ายมาอยู่ใน ‘โหมดความรู้สึกตัว’

เพราะเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกตัวเราจะหยุดคิด  แต่เมื่อไหร่ที่เราคิดเราจะไม่รู้สึกตัว นี่เป็นกฎของธรรมชาติ

ใช้ ‘คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า’ รักษาร่วมยิ่งทำให้หายไว

อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาโรคซึมเศร้าคือการใช้ ‘คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า’ หรือ TMS รักษาอาการซึมเศร้าควบคู่การทานยา

โดยเป็นเป็นคลื่นแม่เหล็กที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้าโดยตรง  เช่น ในคุณแม่บางคนที่กำลังตั้งครรภ์และไม่สามารถทานยาได้  ก็เลือกใช้วิธีนี้ในการรักษา

ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้งประมาณ 15 นาที อาทิตย์ละครั้งก็เป็นทางเลือกที่ดีและได้รับการยอมรับในต่างประเทศ  เพราะช่วยให้โรคซึมเศร้าหายได้รวดเร็วขึ้น (มีคลินิคที่มีการรักษา TMS ในโรงพยาบาลชั้นนำ)

วิธีหยุดยั้ง ‘การฆ่าตัวตาย’

คุณกอล์ฟเล่าว่าหลังจากหายจากอาการโรคซึมเศร้าของตัวเอง  เขาเคยเข้าไปในกลุ่มของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเพื่อแจกเบอร์โทรให้คนที่ตกอยู่ในสภาวะนี้โทรมาหา  ซึ่งหลายสายเลือกที่จะโทรมาเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะตัดสินใจ  แล้วเขาก็มักจะบอกให้ปลายสายเหล่านั้น เข้าสู่ ‘โหมดการรู้สึกตัว’ นั่นคือ

จากนั้นให้ลองทำทั้ง 3 อิริยาบทไปพร้อมๆ กันในแบบที่รู้สึกตัวเต็มร้อย  แล้วลองให้คิดเรื่องการฆ่าตัวตายไปพร้อมกัน  ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่โทรมาปรึกษามักบอกว่าคิดไม่ได้  เพราะร่างกายมีความรู้สึกตัวแล้วนั่นเอง

เรียกได้ว่าเป็นเหมือนกรณีที่มีคนขาดสติแล้วต้องเขย่าตัว  เพื่อให้ความรู้สึกตัวกลับมา  เพราะปัญหาหนึ่งของคนเป็นโรคซึมเศร้าคือการถูกความคิดลบๆ รุมทำร้าย  จึงต้องกลับมาสู่ความรู้สึกตัวทั้งขณะนั่ง ยืน เดิน รับประทานอาหาร  หรือเรียกได้ว่าเป็นการปฎิบัติธรรรมผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน

6 เคล็ดลับดูแลตัวเองให้ไกลซึมเศร้า

เมื่อหายก็เหมือนได้ ‘ชีวิตใหม่’

การหายจากโรคซึมเศร้าเหมือนการคืน ‘ชีวิตใหม่’ ให้ตัวเอง  เพราะทำให้ได้เรียนรู้วิธีใช้ชีวิตอย่างมีสติในทุกขณะ  ซึ่งนำมาพัฒนากับการทำงานได้

เขาเล่าว่าข้อดีอย่างหนึ่งของการฝึกสติในช่วงที่ผ่านมา  คือสามารถฟังบรีฟจากลูกค้าได้อย่างมีสติสัมปชัญญะ  จนได้ยินไอเดียต่างๆ แวบเข้ามาในหัว เพราะเห็นคำตอบจากคำถามของลูกค้า  และได้ solution ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งย่อเวลาการทำงานให้น้อยลง  จนมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นด้วย  โดยทั้งหมดเกิดจากการฝึกให้ตัวเองรู้สึกตัว

ท้ายที่สุดแล้วเรามีความเห็นว่าคนทำงานทุกคนควรหมั่นดูแลตัวเองเสมอๆ  เพราะการทำงานต่อให้สนุกกับงานมากแค่ไหน  ก็ย่อมเกิดความเครียดที่ตามมาอยู่ดี  ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในอนาคต  ที่เรียกได้ว่าไม่คุ้มเลยหากคุณต้องแลกมันกับความสำเร็จที่ตั้งเป้าหมายไว้ในใจ

คลิปวิดีโอสอนการดึงตัวเองออกจากสภาวะซึมเศร้า :
(ขั้นตอนอยู่ที่นาทีที่ 16.10-19.52)

ต้นฉบับหนังสือที่คุณกอล์ฟเขียนเล่าเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า : เมื่อครีเอทีฟพบจิตแพทย์

ชมรมดีๆ ที่สอนเรื่องสติปัฏฐาน 4 : Supawan Green – ศุภวรรณ กรีน