Site icon Thumbsup

[Tips & Tricks] วิธีทำให้คนพูดถึงเราในทางที่ดีบนโลกออนไลน์

reputation

บทความนี้เกิดจากวาบความคิดว่า ใครที่ทำงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ออนไลน์ น่าจะมี tips & tricks การบริหารจัดการชื่อเสียงในแบบฉบับของตัวเองอยู่ วันนี้เราเลยลองสอบถามผู้รู้หลายๆ ท่านว่าแต่ละคนมีเทคนิคในการบริหารจัดการชื่อเสียงกันอย่างไรบ้าง อ่านกันง่ายๆ ไวๆ มาดูกันเลย!

1. อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ – Adapter 

นี่เป็น tips & tricks ที่ผมใช้ในงานเพื่อทำ positive word of mouth เป็นเทคนิคที่เอาไปปรับใช้ได้ทั้งในแง่ของบุคคล หรือธุรกิจครับ

1) Provide good product / customer service.
มั่นใจว่าเรามีของดี เช่น มีสินค้าที่ดี หรือให้บริการที่ดี เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นที่จะทำให้คนพูดถึงเราในทางที่ดี

2) Maintain a positive image.
เมื่อมีสินค้าที่ดีแล้ว ก็ต้องรักษาภาพลักษณ์ของเราให้ดีอยู่เสมอ ด้วยการ…

2.1 Monitor your online reputation
หมั่นตรวจสอบ voice ของเราที่ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น manual หรือการใช้ tools ต่างๆเข้ามาช่วย

2.2 Clean & pleasant surroundings or touchpoints’ experience
พยายามสร้างประสบการณ์ที่ดีในทุกๆ จุดที่ลูกค้าหรือสื่อต่างๆจะมีส่วนร่วมกับเรา โดยเฉพาะบน social media

2.3 Get positive publicity for your personal / business
หาวิธีสร้างข่าวในแง่บวกให้กับเรา หรือธุรกิจของเราอย่างต่อเนื่อง

2.4 Contribute visibly to your community.
หาทางมีส่วนร่วมหรือมีตัวตนใน community ของเรา

2.5 Ask for testimonials and display them prominently.
บางครั้งอาจต้องหาบุคคลอื่นที่มีอิทธิพลกับลูกค้าหรือสื่อ มาช่วยพูดถึงหรือสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเรา

2.  ณธิดา รัฐธนาวุฒิ  – MarketingOops

“โดยส่วนไม่ได้มี tips & tricks อะไรค่ะ นอกจากความเป็นตัวของตัวเองในการปรากฏตัวเองตามสื่อต่างๆ ทั้งผ่านการเขียน การแชร์ การให้ความรู้ แง่คิด และประสบการณ์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราวางตัวเราบนโลกออนไลน์แบบไหนด้วยนะคะ บางคนเลือกสร้าง profile ให้มีตัวตนและมีชื่อเสียงบนโลกออนไลน์ ตรงนี้จะทำให้ขาดความเป็นตัวตนที่แท้จริง และจะทำให้ชีวิตเครียดได้เพราะต้องดูดีตลอดเวลา ถ้าพลาดก็จะเริ่มพูดถึงเราไม่ดี สำหรับตุ๊กคิดว่าเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด ทั้ง personal และเรื่องงาน ใช้ media ให้ถูกวิธี และแน่นอนว่าถ้าเราคิดดี แชร์ดี ให้ความคิดเห็นที่ดี คนก็จะพูดถึงเราในทางที่ดีเอง”

3. ศรีสุดา วินิจสุวรรณ- Sanook

“ไม่ได้ตั้งใจว่าคนจะต้องพูดถึงเราแต่เรื่องดี หรืออาจบอกว่าไม่คาดหวังแต่ ถ้าคนพูดถึงเราดีเราก็แอบดีใจ คิดว่าเราได้รับในสิ่งที่เราปล่อยออกไป life is a boomerang what you give you get พยายามทำให้ได้แบบนี้อ่ะ แต่บางทีมันก็มีหลุดก็ต้องแอ๊บไว้ หมายถึงบางทีก็ไม่ได้โลกสวยแบบที่คนอื่นเห็นแต่พยายามรักษามาตรฐานไว้ อะไรไม่เป็นไปตามแผนเราโทษตัวเองก่อน จะได้ไม่ตีกับใคร”

นอกจากนี้ก็มีข้อคิดเพิ่มเติมว่า

1.ใส่ใจในสิ่งที่คนพูดถึงเรา
เช่น การที่มีคนมาชวนเราคุยบน social media ต่างๆ เราพยายามจัดกลุ่มของเนื้อหาที่ส่งมา บางกลุ่มต้องการคำตอบ บางกลุ่มต้องการแค่ทักทาย เราจะได้เลือกตอบ หรือเลือกสนทนา หรือ เลือกที่จะไปหาข้อมูลเพิ่มเติม มาคุยกับคนกลุ่มนี้

2. พยายาม รู้จักคนที่เขาสนใจเรา
ศึกษาคนที่เข้ามาชวนเราคุย เข้ามาติชมผลงานของเรา ผ่าน social media อาจจะมีโอกาสที่คนที่ติดตามเราจะกลายมาเป็น พันธมิตรกับเรา หรือ เป็นผู้ให้ความรู้ ชี้แนะ เราในอนาคตได้ โดยหลักๆ ก็ทำความรู้จักกันผ่าน social media มีบางโอกาสได้เจอตัวจริง หากเราจะได้ เราก็ทักทาย social media ที่เราเข้าไปศึกษาตัวเขา ทำให้เรามีเรื่องชวนคุยได้

3. มีปฏิสัมพันธ์กับ คนที่เขาสนใจเราอยู่เป็นประจำ
สังเกตุคนที่มักจะเข้ามา มีปฏิสัมพันธ์กับเราบน social media หากเค้ามาประจำเราควรให้ความสำคัญกับเขา โดย การ ขอบคุณ กด like ความเห็นของเค้า หาก ทำได้คือ จำหน้าเขา มีโอกาสเจอตัวจริง เขาอาจเข้ามาทักเรา

จะเห็นได้ว่าแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน อย่างคุณอรรถวุฒิจะมีแนวทางที่เป็นแบบแผนชัดเจน คุณณธิดาอาศัยสามัญสำนึก ด้วยการนำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้เข้ากับความคาดหวังของใคร ส่วนคุณศรีสุดาก็อาศัยความจริงใจเข้าว่า และขยันปฎิสัมพันธ์ ด้วยการทำในสิ่งที่ถูกที่ควร ทำดีได้ดี จากนั้นผลก็จะตามมาในทางที่ดีเอง

แต่ไม่ว่าแต่ละคนจะมีแตกต่างกันไปแค่ไหน ท้ายที่สุดทุกอย่างจะกลับมาที่ ความน่าเชื่อถือ เพราะไม่ว่าเราจะมีเทคนิคที่ดีแค่ไหนอย่างไร ถ้าปราศจากความไว้เนื้อเชื่อใจของผู้ติดตามบนโลกออนไลน์ เราก็ไม่สามารถยืนระยะได้ยาวนาน

หรือคุณว่าไม่จริง