Site icon Thumbsup

9 ตัวชี้วัดความสำเร็จของ Content Marketing

การสร้างเนื้อหา (Content) ที่เป็นประโยชน์เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดความประทับใจและจดจำสินค้าหรือแบรนด์ได้เป็นเป้าหมายของนักการตลาดทุกคน แต่ควรใช้ตัวชี้วัด (KPIs) อะไรในการวัดประสิทธิภาพของ Content Marketing

จำนวนยอดไลก์หรือการมีส่วนร่วมจะไม่มีประโยชน์เลยหากใช้ตัวชี้วัดไม่ตรงกับเป้าหมาย การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับเป้าหมายจะช่วยให้ธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุด

ทำไม KPIs ถึงสำคัญ?

การใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสมจะช่วยวิเคราะห์ว่ากลยุทธ์/แคมเปญการตลาดที่ทำอยู่ดีหรือไม่ดี ช่วยให้นักการตลาดสามารถปรับเปลี่ยนปรับปรุงกลยุทธ์/แคมเปญได้

ก่อนอื่นต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่าต้องการให้การตลาดบรรลุวัตถุประสงค์ใด จากนั้นตั้งตัวชี้วัดสำหรับ Content Marketing ให้เหมาะสม

เป้าหมายการตลาด

เพิ่มการรับรู้แบรนด์(Brand Awareness)

Content Marketing ควรเป็นเนื้อหาที่ช่วยสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วม และควรมีตัวชี้วัดว่าคอนเทนต์มีประสิทธิภาพหรือไม่

Content Marketing KPI

จำนวนการอ่านบทความ (Article View)

เป็นตัวชี้วัดที่สามารถใช้เครื่องมือพื้นฐาน เช่น  Google Analytics ในการดูจำนวนผู้อ่านบทความ และยังสามารถดูข้อมูลเชิงลึกอย่างช่วงเวลาที่อ่าน ระยะเวลาการอ่าน และ Bound rate

การแบ่งปันทางสังคม (Social Share and Engagement)

เราสามารถติดตามและวัดประสิทธิภาพการแบ่งปันทางสังคมของ Content Marketing โดยใช้ฐานผู้ติดตามหรือความคิดเห็นของสังคมที่มีต่อเนื้อหา

จำนวนผู้ติดตาม(Followers and Subscribers)

จำนวนผู้ติดตามเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการวัดการรับรู้ของแบรนด์ ที่สำคัญจำนวนผู้ติดตามเป็นตัวเลขที่วัดและประเมินได้ง่ายมาก

การมีส่วนร่วมของผู้ชม (Audience Engagement)

การมีส่วนร่วมของผู้ชม เช่น การตอบโต้ การคอมเมนต์ ช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้ชมมีความคิดเห็นอย่างไรหรือรู้สึกอย่างไรกับสินค้าหรือธุรกิจของคุณ การติดตามตัวชี้วัดนี้ทำให้รู้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มไหนมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์มากที่สุด

ลิงก์เข้าเว็บไซต์ (Inbound Links)

จำนวนผู้ติดตามในการเข้าถึงเว็บไซต์เป็นตัวชี้วัดการรับรู้ของแบรนด์ได้ ซึ่งมีคุณมากกว่าจำนวน Reach ในโซเชียลมีเดีย หากผู้ติดตามคลิกเข้าเว็บไซต์หมายความว่าเนื้อหาได้รับความสนใจอย่างเต็มที่ นอกจากนี้เว็บไซต์ช่วยให้แบรนด์ดูความน่าเชื่อถือและการไว้วางใจ

เป้าหมายการตลาด

โอกาสในการขาย(Generate Leads)

หลังจากสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพแล้ว การวัดโอกาสในการขายจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพของคอนเทนต์ได้ตรงจุด

Content Marketing KPI

อัตราการคลิก(Click-Through rate)

หากต้องการให้ผู้ติดตามคลิกอ่านคอนเทนต์ ควรสร้างปุ่ม Call-to-action เช่นลิงก์เข้าไปยังเว็บไซต์ ช่องทางการติดตาม สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย

ต้นทุนต่อโอกาสในการขาย (Cost per lead)

สามารถคำนวณได้จากต้นทุนของแคมเปญหารด้วยโอกาสในการขายของแต่ละ Content Marketing เพื่อดูว่าคอนเทนต์รูปแบบไหนหรือประเภทใดที่ต้นทุนในการขายน้อยที่สุด

เป้าหมายการตลาด

เพิ่มยอดขาย(Drive More Sales)

การเพิ่มยอดขายย่อมเป็นเป้าหมายของหลายธุรกิจ แต่การจะเพิ่มยอดขายได้ก็ควรมีตัวชี้วัดที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคอนเทนต์

Content Marketing KPI

อัตราการกระทำต่อการเข้าชม (Conversion Rate)

อัตราการเข้าชมเว็บไซต์แล้วกระทำบางอย่างต่ออัตราการเข้าชม เพื่อดูว่าคอนเทนต์ไหนที่มี Conversion rate สูงและสร้างการขายได้มาก เช่น จำนวนคนสั่งซื้อสินค้าออนไลน์

วงจรการขาย(Length of Sales Cycle)

กระบวนการขายตั้งแต่ต้นจนถึงการตัดสินใจซื้อ เพื่อวัดว่าตั้งแต่ลูกค้าเข้าถึงคอนเทนต์มีกี่ขั้นตอน เพื่อช่วยให้คุณระบุถึงช่องทางที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเพิ่มยอดขายได้เช่นกัน

อ้างอิง shanebarker