Site icon Thumbsup

ภาคธุรกิจกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน

คอร์น เฟอร์รี่ บริษัทผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์กรชั้นนำระดับโลก ได้เผยผลวิจัย เกี่ยวกับภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ส่วนการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยนั้น อาจส่งผลให้สูญเสียรายได้ถึง 8,100 ล้านดอลล่าร์หรือ 2 แสนล้านกว่าบาท เรียกได้ว่าสูงเป็นอันดับ 2 รองจากจีนเลยทีเดียว

ผลการศึกษาโดย Korn Ferry เปิดเผยว่า การขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะซึ่งปัจจุบันถือเป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2030 หากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม หากปล่อยไว้จนสายเกินไปปัญหาการขาดแคลนนี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเติบโตของตลาดต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยภาวะการขาดดุลแรงงานผู้มีทักษะมากกว่า 12.3 ล้านคนภายในปี 2020 จะพุ่งสูงถึง 47.0 ล้านคนภายในปี 2030 และก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ประจำปีถึง 4.238 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วภูมิภาค

งานศึกษาภาวะขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะทั่วโลกของ คอร์น เฟอร์รี่ (Korn Ferry’s Global Talent Crunch Study) ได้ประเมินช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของแรงงานผู้มีทักษะในเขตเศรษฐกิจหลัก 20 เขต ที่ 3 ช่วงเวลา คือปี 2020, 2025 และ 2030 ครอบคลุม 3 ภาคธุรกิจ ได้แก่ บริการทางการเงินและธุรกิจ เทคโนโลยี สื่อและโทรคมนาคม (TMT) และอุตสาหกรรมการผลิต

ปัญหาการขาดดุลแรงงานผู้มีทักษะอาจสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจและภาคธุรกิจต่าง ๆ ทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก ดังนี้   

ทางด้านภาคธุรกิจในประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบดังนี้

วิกฤติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดดุลแรงงานทั่วโลกภายในปี 2020 – 2030

ผลกระทบที่อาจเกิดกับเขตเศรษฐกิจสำคัญของโลก

สำหรับงานศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลและข่าวกรองทางธุรกิจ เพื่อศึกษาถึงขอบเขตการขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะใน 20 เขตเศรษฐกิจหลัก ซึ่งได้แก่ ทวีปอเมริกา – บราซิล เม็กซิโก สหรัฐฯ แถบยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา – ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และเอเชียแปซิฟิก – ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย

ตลาดของเอเชียแปซิฟิก 

 ความสูญเสียที่คาดการณ์ไว้ในปี 2030  

 หน่วยเป็น : พันล้านดอลลาร์

 การขาดดุลแรงงานรวมในปี 2030  

 หน่วยเป็น : คน

China

   1,433.5

– 6,739,663

Japan

   1,386.8

– 13,756,592

Australia 

     587.6

– 4,302,201

Indonesia

     442.6

– 17,943,311

Hong Kong

     219.8

– 1,884,657

Singapore

     106.8

– 1,093,506

Malaysia

      6.1

– 93,458

Thailand

     54.8

– 1,191,364

India

     0

+ 245,294,246 (เกิน)

สามารถดูกระบวนการศึกษาทั้งหมดในรายงานการศึกษาภาวะการขาดแคลนแรงงานผู้มีทักษะทั่วโลกได้ ที่นี่