Site icon Thumbsup

‘นกแอร์’ ถอยตั้งหลัง ยื่นล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการ หลังแบกหนี้ 2.6 หมื่นล้าน

อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ การเดินทางภายในประเทศยังคงซบเซาแม้ว่าการท่องเที่ยวในประเทศจะเริ่มฟื้นฟู

อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ การเดินทางภายในประเทศยังคงซบเซาแม้ว่าการท่องเที่ยวในประเทศจะเริ่มฟื้นฟู

ธุรกิจสายการบินขาดสภาพคล่อง ต้องแบกรับค่าเช่าสนามบิน ค่าจ้างพนักงาน หนี้จากการซื้อและค่าบำรุงรักษาเครื่องบิน ส่งผลให้ ‘การบินไทย’ ‘นกสกู๊ต’ เลือกเส้นทางฟื้นฟูกิจการและปิดกิจการตามทางเลือกของตัวเอง

ล่าสุด ‘นกแอร์’ ฝ่าวิกฤตไม่ไหวขอถอยไปตั้งหลักด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลาย เพื่อพื้นฟูกิจการตามรอย ‘การบินไทย’ ที่ต้องเดินเข้าสู้เส้นทางเดียวกันไปก่อนหน้านี้

อ้างอิงจากเอกสารที่ยื่นต่อศาลล้มละลายระบุว่า มีหนี้สินรวมทั้งหมดเป็นจำนวนกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท รวมเจ้าหนี้จำนวน 312 ราย โดยศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 น. ผลจากการยื่นในครั้งนี้ทำให้นกแอร์อยู่ในสภาวะพักการชําระหนี้ (Automatic Stay) ทันที

นกแอร์ระบุว่า “การฟื้นฟูกิจการนั้นเป็นแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยการเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการที่จะเลิกหรือชำระบัญชี หรือไม่ได้มุ่งหมายให้บริษัทฯ ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายแต่อย่างใด หากต้องการฟื้นฟูกิจการให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง”

อย่างไรก็ตาม วิกฤตโควิด-19 เป็นสิ่งที่ทำให้นกแอร์ต้องตัดสินใจยื่นล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการ เพราะเมื่อตรวจสอบรายได้ กำไร ขาดทุนย้อนหลัง 4 ปีพบว่านกแอร์ขาดทุนหลักพันล้านติดต่อกัน 4 ปี

ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปี

ปี 2559 รายได้รวม 16,938.32 ล้านบาท ขาดทุน 2,795.09 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้รวม 20,376.71 ล้านบาท ขาดทุน 1,854.30 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้รวม 19,740.23 ล้านบาท ขาดทุน 2,786.76 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 19,969.12 ล้านบาท ขาดทุน 2,051.39 ล้านบาท

สำหรับแนวทางฟื้นฟูกิจการของบริษัทเบื้องต้นคือ 1.ปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำหนี้ของบริษัท 2. บริหารจัดการกิจการของลูกหนี้ เช่นปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบินและปรับฝูงบิน โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องฟื้นฟูกิจการให้สำเร็จก่อนการระบาดโควิด-19 จะยุติลง

ล่าสุด ‘นกแอร์’ ฝ่าวิกฤตไม่ไหวขอถอยไปตั้งหลักด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลาย เพื่อพื้นฟูกิจการตามรอย ‘การบินไทย’ ที่ต้องเดินเข้าสู้เส้นทางเดียวกันไปก่อนหน้านี้

อ้างอิงจากเอกสารที่ยื่นต่อศาลล้มละลายระบุว่า มีหนี้สินรวมทั้งหมดเป็นจำนวนกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท รวมเจ้าหนี้จำนวน 312 ราย โดยศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 น. ผลจากการยื่นในครั้งนี้ทำให้นกแอร์อยู่ในสภาวะพักการชําระหนี้ (Automatic Stay) ทันที

นกแอร์ระบุว่า “การฟื้นฟูกิจการนั้นเป็นแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยการเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการที่จะเลิกหรือชำระบัญชี หรือไม่ได้มุ่งหมายให้บริษัทฯ ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายแต่อย่างใด หากต้องการฟื้นฟูกิจการให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง”

อย่างไรก็ตาม วิกฤตโควิด-19 เป็นสิ่งที่ทำให้นกแอร์ต้องตัดสินใจยื่นล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการ เพราะเมื่อตรวจสอบรายได้ กำไร ขาดทุนย้อนหลัง 4 ปีพบว่านกแอร์ขาดทุนหลักพันล้านติดต่อกัน 4 ปี

ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปี

ปี 2559 รายได้รวม 16,938.32 ล้านบาท ขาดทุน 2,795.09 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้รวม 20,376.71 ล้านบาท ขาดทุน 1,854.30 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้รวม 19,740.23 ล้านบาท ขาดทุน 2,786.76 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 19,969.12 ล้านบาท ขาดทุน 2,051.39 ล้านบาท

สำหรับแนวทางฟื้นฟูกิจการของบริษัทเบื้องต้นคือ 1.ปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำหนี้ของบริษัท 2. บริหารจัดการกิจการของลูกหนี้ เช่นปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบินและปรับฝูงบิน โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องฟื้นฟูกิจการให้สำเร็จก่อนการระบาดโควิด-19 จะยุติลง

SET, MGR