Site icon Thumbsup

แบรนด์ Nokia กำลังจะก้าวไปทางไหน และจะขายอะไร ทางนี้มีคำตอบ

หลายคนอาจมีคำถามว่า “Nokia” ชื่อของแบรนด์โทรศัพท์มือถือและระบบเน็ตเวิร์กยอดฮิตเมื่อสิบปีก่อน ตอนนี้อยู่ ณ จุดใด และกำลังจะก้าวไปทางไหนต่อ ล่าสุด Nokia ได้กลับมาอีกครั้งในงาน Nokia Innovation Day 2017 เพื่อมาบอกว่าเล่าถึงทิศทางของธุรกิจของ Nokia ในปี 2017 ทั้งในตลาดไทยและตลาดโลกให้เราได้ทราบกัน

โดย Nokia ได้เริ่มต้นด้วยการเปิดเผยตัวเลขรายได้ของปี 2015 ว่า มีรายได้ 12.5 พันล้านเหรียญยูโร (ประมาณ 426,599 ล้านบาท) โดยมาจากสองกลุ่มหลักนั่นคือ กลุ่มเทคโนโลยี 8% และมาจากกลุ่ม Mobile Network 92%  ขณะที่รายได้ในปี 2016 นั้น ทะลุขึ้นไปถึง 23.6 พันล้านเหรียญยูโร (ประมาณ 805,418 ล้านบาท) โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นมาหลายกลุ่มมาก แน่นอนว่ารายได้จากธุรกิจ Mobile Network ยังครองส่วนแบ่งหลักที่ 56% ถัดมาเป็น IP Routing 12%, Fixed Networks 10% และ Optical Network 7% นอกจากนั้นก็มีกลุ่มย่อย ๆ เช่น แอปพลิเคชัน ฯลฯ อีกจำนวนหนึ่ง
ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า Nokia ในปี 2016 ที่ผ่านมา แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นในตลาด “Networks” ขณะที่ในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทมีส่วนแบ่งในตลาด LTE สูงเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วย (อ้างอิงจาก Dell’Oro Mobility report Q1/2017)
แต่นอกจากการเติบโตด้านตลาดเน็ตเวิร์กของ Nokia แล้ว คุณเซบาสเตียน โลฮอง ผู้อำนวยการ Nokia ประจำประเทศไทย ยังต้องการจะบอกอีกด้วยว่า โลกกำลังเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่ต้องการโซลูชันด้านการ Connectivity เพื่อตอบสนองความต้องการของ MegaTrends มากขึ้นทุกที โดย Nokia ได้จำแนก MegaTrends ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกเอาไว้ทั้งสิ้น 6 เทรนด์ได้แก่
1. ด้านเทคโนโลยีเครือข่าย และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
2. การมาถึงของ Internet of Things นื่องจากเรากำลังจะมีอุปกรณ์ IoT ออกมาอีกนับล้านล้านชิ้นที่จะเชื่อมต่อกัน ดังนั้นเครือข่ายต้องสามารถรองรับการเชื่อมต่อนี้ได้
3. เทคโนโลยี Augmented Intelligence ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบแว่นดิจิทัล
4. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Human และ Machine ที่ในอนาคต เราอาจ
5. เทรนด์ด้าน Social & Trusted Economy โดย Nokia มองว่าในปัจจุบันเรามีแอปพลิเคชันอย่าง Uber ที่ต้องอาศัยความไว้ใจกันมากขึ้น และสปีดในการเชื่อมต่อก็เป็นเรื่องสำคัญ
6. เทรนด์ด้าน Digitalization และ Ecosystem ที่อนาคตจะมีการเชื่อมต่อระหว่างสายงานการผลิต กับพนักงานในส่วนกลางโดยที่ไม่ต้องลงไปที่หน้างานจริง หรือสามารถอัปเดตเวอร์ชันของหุ่นยนต์ได้ผ่านคำสั่งจากส่วนกลาง เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ งาน Innovation Day จึงเป็นงานที่มีการนำเสนอ Solution ที่คาดว่าจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอนาคตออกมา 4 ชนิดที่ครอบคลุมการใช้งานทั้งหมด ได้แก่ เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ, บ้านอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ, ระบบติดตามสมาชิกในครอบครัว และระบบ ปกป้องภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตในชื่อ NetGuard Endpoint Security (NES) 
แนวคิดด้านเสาไฟฟ้าอัจฉริยะของ Nokia
โดยภาพในสไลด์ที่ทีมงานถ่ายมานี้ อาจเป็นเสาไฟฟ้าอัจฉริยะที่หน้าตาแปลกสักหน่อย และคงไม่เหมาะกับเมืองไทยนัก เนื่องจากเกรงว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ อาจหายไปได้โดยง่าย พื้นฐานการทำงานของเสาไฟฟ้าในลักษณะนี้คือการให้มันอยู่ได้ด้วยตัวเอง และคอยส่งข้อมูลต่าง ๆ ที่มอนิเตอร์ได้เข้าสู่ศูนย์กลาง เช่น คุณภาพอากาศ ส่งภาพถ่าย ฯลฯ
ขณะที่บ้านสำหรับผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การมี IoT ติดตั้งภายในบ้านเป็นระบบเน็ตเวิร์กก็สามารถช่วยให้ลูกหลานสบายใจได้ ส่วนเรื่องของระบบติดตามตัว สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ผู้ใหญ่ที่ต้องออกไปทำงานได้ทราบว่า ทุกคนยังอยู่ดี มีความสุข  หรือหากประสบภัยก็สามารถกดปุ่ม SOS ขอความช่วยเหลือได้โดยง่าย เป็นต้น
Solution ทั้งหมดนี้ หากกังวลว่าอาจใช้งานได้ไม่ปลอดภัย Nokia ก็มี Solution ด้านซีเคียวริตี้มาอีก 1 ตัวอย่าง NetGuard Endpoint Security (NES) เพื่อปกป้องข้อมูล – มัลแวร์บนเครือข่าย ซึ่งนี่อาจเป็นอีกหนึ่งวิสัยทัศน์ด้าน Networks ที่ครบวงจรก็เป็นได้