แม้ว่าเราจะผ่านสถานการณ์โควิด-19 มาตลอดทั้งปี 2020 และในสถานการณ์ที่เหมือนจะดีขึ้น เราก็เจอโควิดระลอกสองที่ตัวเลขพุ่งสูงขึ้นเร็วมาก แต่แนวโน้มการปรับตัวและรับมือของประชาชนก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
ทาง Media Intelligence จึงได้คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาปี 2564 ภายหลังวิกฤต Covid-19 เริ่มคลี่คลายและเห็นสัญญาณต่างๆที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาและคาดการณ์การเข้าถึงวัคซีนป้องกัน Covid-19 ในช่วง Q2 ของปี 2564 ประกอบกับการฟื้นตัวของตลาดที่ส่งผลต่อรายได้ของไทย โดยเฉพาะ จีน ซึ่งจะเริ่มส่งผลบวกโดยตรงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการส่งออก
ดังนั้น บริษัทจึงได้คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาปี 2564 บวกได้มากกว่า 10% เป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ดีทาง MI ได้ประเมินเผื่อไว้ หากสถานการณ์ Covid-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่ อาจชะลอการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 2564 เหลือเพียงบวกแค่ไม่ถึง 5% เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นช่วงก่อนเข้า High Season ของโฆษณา(Summer) คือ เริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์-เมษายน
คุณภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด กล่าวว่า ด้วยตัวเลขภาพรวมโฆษณาของปี 2020 ที่ติดลบเกือบ 20% แต่สื่อทีวีและอินเทอร์เน็ตยังมีทิศทางบวก แต่จะหนักไปที่สื่อ Out of Home และโรงหนัง ที่คนต้องอยู่บ้าน
หากมีการล็อกดาวน์ในจังหวัดหลักรอบสองนั้น อาจจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง จะมาพร้อมความกังวลและส่งผลต่อวงการหนักมาก ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ โอกาสเติบโตรอบนี้อาจไม่มีหรือติลบ แต่มองว่ายังเท่าปีที่แล้ว ตัวเลขจะอยู่ที่ 73,706 ทีวีและสื่อออนไลน์จะโตมากขึ้นเพราะคนอยู่บ้านและดูทางช่องหลักและเสพออนไลน์หนักขึ้น
แพลตฟอร์มเดิมยังมีการใช้งานอยู่ไม่มีอันไหนร้อนแรง เพียงแต่ใช้เวลามากขึ้น เช่นกลุ่มเจน X และ Y ที่ใช้เฟสบุค ก็ใช้หนัก หรือกลุ่มที่เสพคอนเทนต์ใดก็จะเข้มข้น ไม่ได้ข้าม แต่เห็นคอนเทนต์บางประเภทท่ีเสพมากกว่าเดิม เช่น tiktok อาจจะได้รับความสนใจมากขึ้น ยูสเซอร์อาจไม่เพิ่มแต่แอคทีฟเพิ่ม แอคทีฟ 12 ล้านคน เหตุการณ์ระบาดรอบนี้ ปชชหรือมาตรการไม่เข้มข้น
นักการตลาดควรปรับแผนการใช้สื่อและการสื่อสารให้เกิดประสบการณ์สูงสุด สื่อนอกบ้านมีการลงโฆษณาน้อยลงและเพิ่มสื่อทีวีและออนไลน์มากขึ้น และเฉพาะกลุ่มรายการที่ได้ผลบวก
อย่างไรก็ตาม การที่เราเห็นสินค้าประเภทถั่งเช่าและคอลลาเจนในทุกช่องทีวีนั้น เป็นผลจากความถดถอยของสื่อทีวีที่ต้องการวิ่งหาแบรนด์ที่พอมีเงิน หรือเข้าไปในรูปแบบของ Profit Sharing กัน เพื่อการได้มาของรายได้มาหล่อเลี้ยงธุรกิจ เชื่อว่าทางผู้ประกอบการทีวีเองก็รับทราบถึงความไม่สมดุลนี้ แต่ก็จำเป็นต้องพยุงตัวเองเพื่อความอยู่รอด
ส่วนเรื่องการย้ายช่องของผู้ประกาศข่าวนั้น ต้องบอกว่ามีผลในเรื่องของการติดตาม แต่ไม่ใช่โอกาสที่จะได้มาซึ่งรายได้ทั้งหมด แม้ว่าแต่ละช่องมีแม็กเน็ตของบางรายการหรือบางสำนักข่าว ในมุมของเอเจนซี่มองว่าการซื้อตัวผู้ประกาศข่าวที่มีชื่อเสียงไปนั้น ไม่ได้การันตีว่าจะทำให้เรตติ้งตามมาหรือสร้างโอกาสในการติดตั้งเพิ่ม เพราะคนที่เปิดดูหรือฐานแฟนเก่า เขาอาจจะติดตามเพราะคุ้นเคย เชื่อถือและชอบคอนเทนต์ของช่องเดิมอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมีบางคนที่มีคาแรคเตอร์ชัดเจนและแฟนคลับติดตามจริงๆ ก็มีโอกาสที่จะตามไปฟังในช่องอื่นๆ บ้าง แต่ก็ไม่สามารถการันตีเรื่องเรตติ้งได้
ทางด้านของแบรนด์ที่ยังมีการใช้จ่ายอยู่นั้น ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบรนด์ที่มองว่ายังมีโอกาสในการรักษาชื่อเสียงของแบรนด์อยู่ เราจึงเห็นสินค้าหลายแบรนด์ยังคงทำตลาดและลงโฆษณาต่อเนื่อง เพียงแต่เม็ดเงินอาจจะไม่ได้ทุ่มไปในช่องทางหลักแต่จะกระจายไปหลายๆ สื่อเพียงรักษาโอกาสในช่วงวิกฤตโควิดแบบนี้
อย่างไรก็ตาม การตื่นตระหนกจนเกินไป (Panic) จะเป็นปัจจัยหลักอีกหนึ่งปัจจัยที่มาซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่กว่าที่ควรจะเป็น การตื่นตัวและตระหนัก ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดของภาครัฐอย่างเคร่งครัด รักษาการ์ดอย่าให้ตก ติดตามข่าวสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ (สำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ) อย่าเพิ่งเชื่อ ตื่นตระหนกและแชร์ข่าวออกไปก่อนตรวจสอบให้ดี
เพื่อพยุงสถานการณ์โดยรวมให้ไม่แย่เกินความเป็นจริงและฟื้นฟูอุตสาหกรรมโดยรวมให้กลับมาสดใสในเร็ววัน ซึ่งเราพอเริ่มเห็นแสงสว่างจากการกระจายและเข้าถึงวัคซีนป้องกัน Covid-19 ในหลายประเทศ ซึ่งในประเทศหรือเมืองที่มีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนแล้ว อัตราผู้ติดเชื้อใหม่ในเมืองนั้นๆก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และคาดการณ์ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของไทยจะเข้าถึงวัคซีนในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป