แม้พนักงานของไทยจะมีความสามารถในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี แต่การเข้ามาของ AI กลับเป็นจังหวะที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่ที่อยากเปลี่ยนงานอยากอัปสกิลและรีสกิลใหม่ เพื่ออัปเกรดเงินเดือนหรือตำแหน่งงานให้สูงขึ้น ทรูดิจิทัล อคาเดมี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานภายใต้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็เร่งสร้างคนผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีที่ปรับปรุงและพัฒนามาตั้งแต่ปี 2019
ดร.ชนนิกานต์ จิรา ผู้อำนวยการ ทรู ดิจิทัล อคาเดมี เล่าว่า หลักสูตรต่างๆ ของบริษัทมีผู้เรียนกว่า 60,000 คน ผู้เรียนส่วนใหญ่มีทั้งแบบ b2b และ b2c จาก 90 บริษัท เหตุผลที่องค์กรต่างๆ ส่งพนักงานเข้ามาอัปสกิลและรีสกิลมากขึ้นนั้นเป็นเพราะไทยยังขาดบุคลากรด้าน AI มีคนจบมาตรงสายน้อยและทำงานไม่ตรงสายกันเยอะมาก รวมทั้งจำนวนของผู้เรียนตรงสายก็มีเพียง 500 กว่าคนต่อปี ดังนั้นการจะเพิ่มคนทำงานส่วนนี้ให้เร็วก็คือต้องนำคนเดิมในองค์กรมาพัฒนาดีกว่าเริ่มต้นใหม่
แม้ว่าองค์กรกว่า 60-70% จะใช้ AI ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น chatgpt, gemini, claude มาช่วยในส่วนงานต่างๆ แล้ว แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องของการนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ ทรูดิจิทัล อคาเดมี จึงออกแบบ PROMPT Framework เบื้องหลังการออกแบบ “โมเดลการเรียนรู้แบบครบวงจร” เน้น 6 ชุดความสามารถ (competency) ที่องค์กรและบุคลากรต้องมี เพื่อความสำเร็จในยุคเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล และ AI ประกอบด้วย
- P – Proactive Learning: การเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีเป้าหมาย
- R – Resilience: ความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้จากอุปสรรค
- O – Outcome-Orientation: การมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ชัดเจนและจับต้องได้
- M – Mastery of Technology: ความรู้และความเข้าใจเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรม
- P – People-Centric Intelligence: ความฉลาดด้าน “คน” เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- T – Thinking Acumen: ความเฉียบคมทางความคิด
สำหรับการสร้าง PromptSphere นั้น ได้นำเอาต้นแบบมาจาก AI-Led Learning Ecosystem ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ
- Curriculum หลักสูตรยกระดับ 4 ทักษะหลักแห่งอนาคต และทักษะเสริม เรียนตรงจากทีมอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาผู้มีประสบการณ์จริงในแต่ละสายงาน รวมถึงความร่วมมือกับหลากหลายสถาบันการศึกษา
ชั้นนำของไทย - Credentials เสริมองค์ความรู้ (knowledge) พร้อมประกาศนียบัตรรับรอง (certificate) ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย เน้นสร้างผลลัพธ์จริง (Outcome-Driven Learning)
- Career โอกาสการพัฒนาทางอาชีพ ผ่านเครือข่ายธุรกิจของทรู คอร์ปอเรชั่น และพันธมิตร
- Community การเติบโตในสายอาชีพ ผ่านเครือข่ายเพื่อนร่วมเรียนและผู้เรียนในรุ่นอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การเรียนอัปสกิลจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 40 ชั่วโมง ส่วนหลักสูตรรีสกิลจะใช้เวลาทั้งหมด 400 ชั่วโมง และทดสอบการเรียนรู้ด้วยการแข่งขันผ่านโปรแกรม Hackatron เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้เรียนด้วย เพราะการเรียน AI ที่ดีที่สุดคือต้องใช้งานจริงด้วย สำหรับโปรแกรมการรีสกิลที่นิยมที่สุดในการเรียนคือ การเรียนรู้เรื่อง data (เริ่มตั้งแต่ journey), ai (ยูสเคสจริงในองค์กร) , ภาพรวม (agile, customer ex) ซึ่งกลุ่มคนที่มาเรียนมากที่สุดคือชาวเจน Y เพราะต้องการที่จะพัฒนาทักษะใหม่ๆ และเข้าใจโลกมากขึ้น
ทั้งนี้ หลักสูตรในการเรียนจะมีผสมผสานระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพราะเนื้อหาแต่ละอย่างจะต้องเหมาะกับหลักสูตรว่าควรเป็นภาษาใดด้วย