หากคุณกำลังประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสื่อสารแบรนด์หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่ต้องทำงานร่วมกับ นักข่าว บล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์หรือแอดมินเพจต่างๆ ทั้งที่คุณก็ทำงานหนักเท่ากับรุ่นพี่ แต่ทำไมข่าวประชาสัมพันธ์ที่เราฝากสื่อมวลชนสังกัดเดียวกับรุ่นพี่ที่อยู่มานานกลับไม่ได้รับความสนใจหรือมีสื่อยอมลงให้ตามยอดที่การันตีไว้กับลูกค้ากันนะ
จากผลรายงานของ Agility PR Solutions ระบุว่า 69% ของผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์จะนำเสนอข่าวให้แก่นักข่าวได้ไม่เกิน 100 คน
ข้อมูลยังระบุให้ทราบอีกว่า ยิ่งตำแหน่งงานของคุณเป็นระดับ Junior ยิ่งเป็นเรื่องยากที่จะมีจำนวนสื่อมวลชนตอบรับและให้ความสนใจคุณ
นอกจากนี้ การที่ทั่วโลกมีภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับสื่อมวลชนยิ่งห่างหายหรือมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งไป ทำให้ความสัมพันธ์นั้นไม่ได้ดีเท่ากับในอดีตที่สามารถพูดคุยกันได้สะดวกใจกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ มองว่า ความยากลำบากในการทำงานทุกวันนี้ ถูกกำหนดไว้ด้วยระดับความอาวุโสของพวกเขา ที่สามารถคุยกับสื่อมวลชนได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับพนักงานระดับเริ่มต้น
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังให้ข้อมูลว่าการที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์รุ่นใหญ่สามารถนำเสนอรายชื่อนักข่าวได้มากกว่าหนึ่งร้อยคนนั้น สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ ระดับเริ่มต้น จะมีรายชื่อสื่อที่ลิสต์ไว้ 71% มีเพียง 51% ของฝ่ายประชาสัมพันธ์ระดับ C เท่านั้นที่มีรายชื่อนักข่าว 100 คนหรือน้อยกว่านั้น
อย่างไรก็ตาม รายชื่อนักข่าวในมือของแบรนด์ยังคงน้อยกว่ารายชื่อสื่อมวลชนของเอเจนซี่เพราะเอเจนซี่ส่วนใหญ่จะมีการสื่อสารกับนักข่าวที่หลายสายแต่ไม่ได้เจาะลึกไปเท่ากับฝ่ายประชาสัมพันธ์ของแบรนด์ที่จะมีจำนวนในสายของธุรกิจตัวเอง
ทั้งนี้ การนำเสนอข่าวที่เป็นบทความนั้นมีความแพร่หลายกว่ามากแต่ข่าวที่คนยอมรับและนิยมดูกลับไปข่าวที่สร้างสรรค์เป็นคลิปวีดีโอ อาจเพราะสไตล์ในการนำเสนอรูปแบบงานเขียนกับรูปแบบวีดีโอมีความแตกต่างกัน
เพราะคลิปวีดีโอจะสะท้อนถึงตัวตนของแบรนด์ แนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารได้ชัดเจนกว่าการนำเสนอแบบเขียนที่อาจจะให้ใครเป็นคนเขียนก็ได้
หากคุณเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์มือใหม่ที่ไม่ได้มีจำนวนอีเมล์ของสื่อมวลชนครอบคลุมครบทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ 89% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาสามารถสื่อสารกับนักข่าวได้เพียง 7% เท่านั้น และยังมีอีกกว่า 4% ที่ยังค้นหาไม่เจอ
อ่านผลสำรวจเพิ่มเติมที่ Ragan, CommunicationWeek
ที่มา : PRdaily